Page 101 - kpi20902
P. 101

100



                         3) ปรับปรุงและพัฒนาแบบสัมภาษณ์ดังกล่าว ตามค้าแนะน้าของผู้เชี่ยวชาญ และเพื่อให้เกิด

              ความถูกต้องของข้อมูลมากที่สุด นักวิจัยจึงได้ใช้เทคนิคการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า (Triangulation)

              ซึ่งมีขอบเขตการตรวจสอบข้อมูล 3 ด้าน ได้แก่

                            3.1)  ด้านข้อมูล   โดยพิจารณาจากแหล่งเวลาหรือช่วงเวลา กล่าวคือ ถ้าข้อมูลต่างเวลากัน

              จะเหมือนกันหรือไม่ แหล่งสถานที่ กล่าวคือ ถ้าข้อมูลต่างสถานที่จะเหมือนกันหรือไม่ และแหล่งบุคคล

              กล่าวคือ ถ้าบุคคลผู้ให้ข้อมูลเปลี่ยนไปข้อมูลจะเหมือนเดิมหรือไม่

                            3.2)  ด้านผู้วิจัย   โดยการเปลี่ยนตัวผู้สังเกตหรือสัมภาษณ์

                            3.3)  ด้านวิธีรวบรวมข้อมูล โดยใช้วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆ กัน เพื่อรวบรวมข้อมูลเรื่อง

              เดียวกัน เช่น ใช้วิธีสังเกตควบคู่ไปกับการซักถามเพื่อหาความถูกต้องและสมบูรณ์ที่สุดของข้อมูลในพื นที่

              ที่ท้าการวิจัย  โดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth interview) ทั งแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ

              โดยใช้เครื่องบันทึกเสียง และสมุดบันทึก


              3.6 การวิเคราะห์ข้อมูล


                     หลังจากที่ผู้วิจัยได้ด้าเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและข้อมูลจากภาคสนามและน้ามา

              วิเคราะห์ ดังต่อไปนี


                     การวิเคราะห์ข้อมูลเนื อหาเชิงพรรณนา โดยการจัดหมวดหมู่ของข้อมูลเนื อหาเชิงพรรณนา

              (Descriptive Analysis) และวิเคราะห์เชิงเนื อหา (Content Analysis) มาเรียบเรียงข้อมูลตามวัตถุประสงค์

              ที่ได้ก้าหนดไว้ รวมทั งรวบรวมโดยการสัมภาษณ์แกนน้าชุมชนหรือผู้ที่เกี่ยวข้องตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ

              ศึกษา โดยใช้การอธิบายข้อเท็จจริงที่เกิดขึ นตามล้าดับของช่วงเวลา (Time Line) และแสดงให้เห็น

              ความสัมพันธ์ของปรากฏการณ์ และใช้วิธีการสร้างรูปแบบข้อสรุปจากข้อมูลที่เป็นรูปธรรมหรือจาก

              ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ นจริงในชุมชน (Analysis Induction) บนฐานของการใช้แนวคิดต่างๆ ประกอบในการ

              วิเคราะห์ และน้าผลการศึกษาจากการเก็บรวบรวมข้อมูลจากพื นที่เป้าหมาย มาหาข้อสรุปจากนั นท้าการ

              วิเคราะห์ ข้อมูลในเบื องต้น โดยใช้เทคนิคเครื่องมือแบบโยงสามเส้า (Triangulation) และสังเคราะห์รูปแบบ

              การจัดการตนเองของชุมชนท้องถิ่นในการแก้ไขปัญหาของตนเอง จนได้ข้อสรุปเป็นรูปแบบที่เป็นองค์ความรู้

              จากพื นที่ (Grounded Theory Study) ตามวัตถุประสงค์ที่ก้าหนดไว้ และจัดประชุมสมาชิกชุมชน และ

              ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื นที่เพื่อให้ชุมชนในพื นที่มีส่วนรับรองความถูกต้องความสมบูรณ์ของข้อมูลเพื่อรับทราบ

              ข้อเสนอแนะและแนวทางในการปรับปรุงรูปแบบให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ น
   96   97   98   99   100   101   102   103   104   105   106