Page 58 - kpi20896
P. 58

57



                 ไม่สมควรจะใช้กับทุกหน่วยวิเคราะห์ จ้าเป็นที่จะต้องใช้วิธีการแบบ Fixed Effect ในการประมาณค่าหรือ

                 การสร้างค่าคงที่เฉพาะตัวของหน่วยวิเคราะห์แล้วท้าการประเมินค่า ในทางตรงกันข้ามนั้นหากเราพบว่า

                 ลักษณะเฉพาะของแต่ละประเทศไม่ได้มีผลต่อสิ่งที่ต้องการศึกษาอย่างแน่นอน วิธีการประมาณค่าแบบ

                 Random Effect จะเหมาะสมมากกว่า  ในขณะที่อีกวิธีหนึ่งที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางคือการทดสอบ

                 ว่าข้อมูลที่มีอยู่นั้นเหมาะสมกับการประมาณค่าแบบใดโดยใช้เครื่องมือทางสถิติเข้ามาช่วยในการทดสอบ

                 ซึ่งงานวิจัยชิ้นนี้ได้เลือกแนวทางในการทดสอบคือ


                                วิธี Hausman Test (1978) โดยตั้งข้อสมมติฐานว่า “การประมาณค่าความแปรปรวน

                 ร่วมกันของ Fixed Effect และ Random Effect มีค่าเท่ากัน” ดังนั้นหากทดสอบแล้วพบว่าค่าค้านวณยอมรับ

                 สมมติฐานหลัก วิธีการประมาณค่าที่เหมาะสมส้าหรับข้อมูลก็จะเป็น Random Effect และหากค่าค้านวณ

                 ท้าให้ต้องปฏิเสธสมมติฐานหลัก วิธีการประมาณค่าก็จะเป็น Fixed Effect

                                 วิธี Redundant Fixes Effects Test โดย  Moulton and Randolph (1989) ได้เสนอ

                 ว่าการทดสอบว่าข้อมูลควรมี Fixed Effect หรือไม่สามารถใช้ F-test ในการทดสอบได้โดยตั้งสมมติฐานหลัก

                 ว่าไม่มี Fixed Effect ในการประมาณค่า ดังนั้นหากค่าค้านวณไม่ตกอยู่ในช่วงปฏิเสธสมมติฐานหลัก จ้าเป็นที่

                 ต้องใช้แนวทางอื่นในการประมาณค่าต่อไป


                               อย่างไรก็ตามหากชุดข้อมูลมีความไม่สมดุลและปริมาณน้อยเกินไป เนื่องจากเป็นข้อมูล

                 ทุติยภูมิที่ผ่านการเก็บข้อมูลจากแหล่งอื่น หากเกิดสภาพความจ้ากัดของข้อมูลท้าให้การทดสอบแบบจ้าลอง

                 ไม่สามารถใช้วิธีการวิเคราะห์แบบ Panel Data ได้ ซึ่งวิธีการที่เหมาะสมที่สุดคือการรวมข้อมูลที่สามารถหาได้

                 ในช่วงเวลาหนึ่ง โดยในงานวิจัยชิ้นนี้เลือกเวลาในช่วงปี 2000-2017 รวมไว้และสร้างเป็นค่าเฉลี่ยของประเทศ

                 ในแต่ละประเด็น และท้าการทดสอบแบบจ้าลองด้วยวิธีการถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression) ที่ต้อง

                 ระวังในการประมาณค่าไม่ให้ตัวแปรต้นสัมพันธ์กันเองมากเกินไปหรือการเกิดปัญหา Multicollinearity

                 จึงต้องท้าการทดสอบปัญหาดังกล่าว นอกจากนี้การวิเคราะห์พหุถดถอยยังต้องระวังปัญหาเรื่องความ

                 แปรปรวนที่ไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของค่าความคลาดเคลื่อน (heteroscedasticity) ซึ่งน้าไปสู่การประมาณ

                 ค่าที่ผิดพลาด โดยท้าการทดสอบด้วยวิธีของ White ที่มีสมมติฐานหลักว่าแบบจ้าลองมีลักษณะเป็น

                 Homoscedasticity โดยการทดสอบทั้งหมดเมื่อพบว่าแบบจ้าลองสามารถหาค่าได้อย่างสมบูรณ์แล้ว จึงค่อย

                 ท้าการทดสอบหาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของตัวแปรที่ศึกษา
   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63