Page 55 - kpi20896
P. 55
54
แก้ปัญหาความไม่นิ่งของข้อมูลสามารถหาการปรับตัวสู่ดุลยภาพระยะยาว (Cointegration Effect) ด้วยวิธี
ของ Pedroni และวิธีของ Kao ซึ่งถ้าหากพบว่ากลุ่มตัวแปรมีความสามารถปรับตัวสู่ดุลยภาพระยะยาวได้
สามารถทดสอบแบบจ้าลองได้โดยตรง และถ้าหากไม่พบผลดังกล่าวจ้าเป็นต้องท้าการแก้ไขปัญหาความไม่นิ่ง
ของข้อมูลก่อนจากที่ทดสอบความสัมพันธ์ของตัวแปรในแบบจ้าลองด้วยวิธีก้าลังสองน้อยที่สุด (Ordinary
Least Square: OLS) โดยประมาณค่าด้วยวิธี Pooled OLS, Fixed Effect Model และ Random Effect
Model ต่อไป
3.1.2.1 การวิเคราะห์ความนิ่งของข้อมูล (Panel Unit Root test)
จากปัญหาความไม่นิ่งของข้อมูลที่พบได้บ่อยในข้อมูลแบบอนุกรมเวลา ท้าให้ในการวิเคราะห์
แบบจ้าลองจ้าเป็นต้องตรวจสอบปัญหาที่เกิดขึ้นกับตัวแปรทุกตัวเสียก่อน ซึ่งตามหลักการนั้นการทดสอบว่า
ข้อมูลมีความนิ่งหรือไม่ คือทดสอบความสม่้าเสมอหรือคงที่ โดยพิจารณาจากความสามารถในการอธิบาย
ของชุดข้อมูลที่มีอยู่ในอดีตว่าสามารถอธิบายชุดข้อมูลในปัจจุบันได้หรือไม่ (Stochastic Process) ซึ่งถ้าหาก
กระบวนการดังกล่าวมีความคงที่กล่าวคือ ค่าเฉลี่ย (mean) ความแปรปรวน (Variance) ความแปรปรวน
ร่วม (Covariance) เข้าใกล้ค่าคงที่หรือดุลยภาพที่มีความผันผวน แต่สามารถกลับเข้าสู่ดุลยภาพเดิมได้
นั่นบ่งชี้ให้เห็นว่าข้อมูลมีลักษณะเป็น Stationary ในทางกลับกันนั้นถ้าหากกระบวนการดังกล่าวไม่คงที่หรือ
เปลี่ยนแปลงตลอดช่วงเวลานั่นคือชุดข้อมูลมีปัญหา non-stationary หรือกล่าวได้ว่าข้อมูลดังกล่าวมี Unit
Root ซึ่งนิยมใช้วิธีการของ Dickey and Fuller (1979) ในการทดสอบโดยตั้งสมมติฐานหลักว่าข้อมูล
มีลักษณะเป็น Non-Stationary ถ้าหากค่าค้านวณตกในช่วงปฏิเสธสมมติฐานหลักนั่นหมายความว่าข้อมูล
ชุดดังกล่าวเป็น Stationary ที่สามารถค้านวณในแบบจ้าลองได้ทันที ส้าหรับแบบจ้าลองที่ใช้ข้อมูลแบบ Panel
Data การทดสอบ Unit root มีวิธีที่ได้รับความนิยม เช่น 1) Levin, Lin and Chu (2002) ซึ่งมีข้อจ้ากัดใน
การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยข้อมูลภาคตัดขวาง 2) Im, Pesaran and Shin (2003) ที่มีข้อดีใน
การแก้ไขปัญหาความสัมพันธ์ภาคตัดขวาง 3) Breitung (2001) ที่สามารถใช้กลับกลุ่มประชากร
ที่เล็กกว่าจ้านวนช่วงเวลา 4) The Fisher’s type test : Maddala and Wu (1999) and Choi (2001) ที่
สามารถใช้กลับสถิติที่ข้อมูลเป็นแบบ Unbalance Panel Data และ 5) Hadri (2000) ซึ่งสามารถแสดงเป็น
ตารางได้ดังนี้