Page 56 - kpi20896
P. 56

55



                                     ตาราง 3.3 วิธีการทดสอบ unit root ส้าหรับ panel data


                                          Tests with Common Unit Root Process

                        วิธีทดสอบ           สมมติฐานหลัก         สมมติฐานทางเลือก          สถิติทดสอบ

                   Levin, Lin and Chu          มียูนิทรูท           ไม่มียูนิทรูท          t - statistic


                        Breitung               มียูนิทรูท           ไม่มียูนิทรูท      Breitung t - statistic

                          Hadri               ไม่มียูนิทรูท          มียูนิทรูท            Z - statistic


                                         Tests with Individual Unit Root Processes

                        วิธีทดสอบ           สมมติฐานหลัก         สมมติฐานทางเลือก          สถิติทดสอบ


                                                                    ไม่มียูนิทรูท
                           IPS                 มียูนิทรูท                                 W - statistic
                                                                   ในบางประเทศ


                      Fisher – ADF                                  ไม่มียูนิทรูท
                                               มียูนิทรูท                              Fisher Chi – Square
                       Fisher – PP                                 ในบางประเทศ



                               ในการตัดสินใจว่าข้อมูลมีสถานะเป็น non stationary หรือไม่นั้น จ้าเป็นที่จะต้องพิจารณา

                 ร่วมกันจากหลายตัวชี้วัดเนื่องจากความหลากหลายมิติของข้อมูลแบบ Panel Data ซึ่งหากข้อมูลมีลักษณะ

                 เป็น non stationary ก็จะท้าการตรวจสอบในขั้นต่อไปเพื่อหาความสัมพันธ์ระยะยาวของกลุ่มตัวแปร


                            3.1.2.2 การวิเคราะห์การปรับตัวสู่ดุลยภาพระยะยาว (Panel Cointegration test)


                               หากตรวจสอบพบว่าข้อมูลที่ได้เป็นอนุกรมเวลาที่ไม่คงที่ หรือ non stationary ชุดข้อมูล

                 ดังกล่าวเมื่อรวมเข้าด้วยกันอาจค้นพบความสัมพันธ์กันของข้อมูลในระยะยาว (Long-run relationships) ซึ่ง

                 สามารถสังเกตได้จากค่าเบี่ยงเบน (Deviation) ที่ออกจากความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพในระยะยาวจะมีลักษณะ

                 คงที่หรือนั่นคือความสามารถในการปรับเข้าสู่ดุลยภาพ เราเรียกลักษณะดังกล่าวว่าเป็น Cointegration

                 (Engle and Granger, 1987, Banerjee et al, 1993) ดังนั้นในทางทฤษฎีการทดสอบ Cointegration Effect

                 คือ การทดสอบความคงที่ของค่าเบี่ยงเบนที่ได้จากการประมาณค่าความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพในระยะยาว

                 (Long-run equilibrium relationship) ของชุดข้อมูลอนุกรมเวลาที่ไม่คงที่ ซึ่งถ้าหากพบความสัมพันธ์แบบ

                 Cointegration นั่นแปลว่าชุดตัวแปรหรือชุดข้อมูลดังกล่าวมีความสัมพันธ์กันในระยะยาว ท้าให้ไม่จ้าเป็นต้อง

                 กังวลปัญหาความสัมพันธ์ที่ไม่จริง (Spurious Regression) ที่อาจเกิดขึ้นในข้อมูลที่มีลักษณะของอนุกรมเวลา
   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61