Page 258 - kpi20858
P. 258
215
จากตารางที่ 3 แสดงให้เห็นถึงรูปทรงแบบอุดมคติ ที่มีลักษณะของการประดิษฐ์รูปทรงให้
อยู่ในสมมุติภาวะ โดยมากมักเป็นรูปทรงของกษัตริย์ หรือเป็นตัวละครเอกของเรื่อง เช่น ยักษ์ ลิง
ตลอดจนสัตว์ในจินตนาการ และสถาปัตยกรรม มีการถ่ายทอดด้วยลักษณะดั้งเดิม คือ การแสดง
รูปทรงอันเส้นอ่อนช้อยงดงาม ไม่แสดงวัย เน้นน าเสนอภาพด้วยวิธีการลงสีและตัดเส้นแบบ 2 มิติ
จากการส ารวจรูปทรงที่ปรากฏบนจิตรกรรมฝาผนัง พระระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
พบว่านอกเหนือจากรูปทรงอุดมคติข้างต้น มีการน าเสนรูปทรงในลักษณะที่ 2 คือ รูปทรงอุดมคติ
ผสานความเหมือนจริง ซึ่งเกิดจากการน าเอาแบบแผนของการสร้างรูปทรงดั้งเดิม ที่เน้นความงาม
แบบอุดมคติมาผสานเข้ากับหลักวิทยาการทางตะวันตก ซึ่งเป็นรูปทรงที่สามารถพบเห็นได้จ านวน
มากที่พระระเบียงแห่งนี้ โดยสามารกล่าวถึงในรายละเอียดดังต่อไปนี้
รูปทรงอุดมคติผสานความเหมือนจริง
ห้องที่ ตัวพระ การวิเคราะห์
จิตรกรรมห้องที่ 1 ฉากตอนพระชนกฤาษีท าพิธี
บวงสรวง ไถได้นางสีดารับเป็นพระธิดา แล้วลา
เพศกลับเข้ากรุงมิถิลา เขียนโดยพระเทวาภินิมมิต
มีการน าเสนอรูปทรงมนุษย์ให้มีกล้ามเนื้อและ
สัดส่วนตามหลักวิทยาการตะวันตก พระฤาษี
1
แสดงอาการออกแรงไถนา เผยให้เห็นกล้ามเนื้อที่
บริเวณแขนและล าตัว แสดงการท างานของ
กล้ามเนื้อได้อย่างสมจริง นอกจากนี้กายวิภาค
สัตว์ คือ ภาพโค กระบือที่ปรากฏในฉากยังแสดง
ให้เห็นถึงกล้ามเนื้อ และสัดส่วนที่ดูสมจริง
เคลื่อนไหวอย่างเป็นธรรมชาติ
จิตรกรรมภาพพระราม พระลักษมณ์ โดย เหมเวช
กร แสดงให้เห็นถึงการผสานเอาหลักวิทยาการ
69
ตะวันตกมาปรับใช้ โดยเฉพาะที่บริเวณใบหน้า
นั้นได้สัดส่วนเลียนแบบใบหน้ามนุษย์ นอกจากนี้
ยังมีการแสดงกล้ามเนื้อให้เห็นได้อย่างชัดเจน