Page 254 - kpi20858
P. 254

211





                       ตนและเขียนจิตรกรรมแนวใหม่  ที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะตะวันตกเช่นกัน  ด้วยเหตุนี้จึงท าให้
                       จิตรกรรมที่ผนังพระระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม  เป็นไปในแนวทางจิตรกรรมไทยแนวตะวันตก

                       ดังที่ปรากฏในปัจจุบัน


                              การน าเสนอฉากตอนที่พระระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดารามนี้  แบ่งฉากตอนโดยอาศัยการ
                       ก าหนดพื้นที่ด้วยช่วงเสา กล่าวคือ พื้นที่ระหว่างเสาต้นที่ 1 ถึงต้นที่ 2 ถือเป็นผนังห้องที่ 1 ดังนั้นการ

                       บรรจุภาพเขียนต่างๆ  เพื่อบรรยายเนื้อหาของฉากตอนใดฉากตอนหนึ่งจึงมีพื้นที่มากพอสมควร  แตก

                       ต่างจากอดีตที่เมื่อต้องการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถหรือพระวิหารนั้น  จ าเป็นต้อง

                       บรรจุเรื่องราวในหนึ่งผนังมากกว่าหนึ่งฉากตอน  เพื่อให้เกิดการบรรยายเรื่องได้ครบถ้วน  ดังนั้นที่พระ
                       ระเบียงแห่งนี้จึงมีพื้นที่มาก สามารถบรรจุภาพต่างๆ ลงไปเพื่อเล่าเรื่องได้อย่างเหมาะสม และเผยให้

                       เห็นการน าเสนอภาพฉากแต่ละฉากได้อย่างอลังการ


                              การแบ่งเรื่องหรือฉากตอน นอกจากจะสามารถสังเกตได้จากพื้นที่ระหว่างเสาแล้วนั้น พบว่า

                       ช่างเขียนยังได้ใช้ฉากธรรมชาติ โขดหิน ภูเขา ต้นไม้ในการแบ่งฉากแต่ละฉากออกจากกัน เช่นเดียวกับ
                       จิตรกรรมตามขนบนิยม อย่างไรก็ตามฉากทุกฉากกลับถูกสร้างความเชื่อมโยงให้เป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่อง

                       กันด้วยการเปิดพื้นที่ของท้องฟ้า  สร้างความต่อเนื่องของเส้นภูเขาที่ระยะหลัง  องค์ประกอบของภาพ

                       ทุกภาพมีจุดสิ้นสุดที่เส้นขอบฟ้า  นอกจากนี้ที่บริเวณท้องฟ้า  ยังแสดงให้เห็นถึงบรรยากาศที่บ่งชี้ถึง

                       เวลาภายในภาพ ซึ่งท าให้เกิดความสอดคล้องไปกับสภาพการณ์ของเนื้อหาของเรื่อง แตกต่างไปจาก
                       จิตรกรรมตามขนบนิยมดั้งเดิม ที่จิตรกรรมมักไม่แสดงกาลเวลา


                              ด้านรายละเอียดของการน าเสนอฉากตอน  แม้จะมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับวรรณกรรมตะวันออก

                       ทว่ามีการน าเสนอรูปแบบซึ่งได้รับอิทธิพลจากศิลปะตามหลักวิชาการของตะวันตก ผสมผสานศิลปะ
                       ตามขนบนิยมดั้งเดิมของไทย กล่าวคือเมื่อพิจารณาด้านการน าเสนอรูปทรงต่างๆ ที่ปรากฏในภาพ

                       จิตรกรรมฝาผนังพระระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดารามแห่งนี้พบว่า  มีรูปทรงแบบอุดมคติซึ่งเคย

                       ยึดถือและกระท าสืบทอดมา ตลอดจนรูปทรงที่มีแนวโน้มน าเสนอเพื่อเลียนแบบความเป็นจริง ท า

                       ให้สามารถจัดประเภทรูปแบบของงานจิตรกรรมที่พระระเบียงแห่งนี้ได้ว่า  เป็นจิตรกรรมไทยแนว

                       ตะวันตก  มีการน าเสนอรูปทรงมนุษย์และสัตว์ที่ผสมผสานความงามตามอุดมคติเข้ากับหลักหลัก
                       กายวิภาค  แสดงความสมจริงของกล้ามเนื้อ  สัดส่วน  ตลอดจนการจัดวางท่าทางที่ดูเป็นธรรมชาติ

                       ในขณะเดียวกันจิตรกรบางคนยังคงสงวนลักษณะการน าเสนอรูปทรงของตัวพระ  ยักษ์  ลิง  ให้มี

                       ความเป็นจิตรกรรมตามขนบนิยมเอาไว้  ดังนั้นเพื่อให้เกิดความชัดเจนในการวิเคราะห์  จึงสามารถ

                       กล่าวถึงรูปทรงตัวอย่างในแบบอุดมคติ  และรูปทรงอุดมคติผสานความเหมือนจริง  ดังตาราง
                       ต่อไปนี้
   249   250   251   252   253   254   255   256   257   258   259