Page 253 - kpi20858
P. 253

210





                              ตั้งแต่แรกเริ่มของการสร้างวัดพระศรีรัตนศาสดาราม  ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธ
                       ยอดฟ้าจุฬาโลก  ได้มีการน าเสนอภาพจิตรกรรมเรื่องรามเกียรติ์อยู่ก่อนแล้ว  ดังนั้นภายหลังเมื่อ

                       ภาพเขียนเกิดช ารุดเสียหาย   จึงมีเขียนใหม่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จยพระนั่งเกล่าเจ้าอยู่หัว

                       พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ตลอดจนรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

                       โดยยังคงน าเสนอเนื้อหาตามที่เคยปรากฏอยู่เดิม  แต่ทว่ารูปแบบของการถ่ายทอดจิตรกรรมนั้น
                       ย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย



                              5.1.1.1.1.2 รูปแบบ

                              รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ถือเป็นยุคสมัยที่เกิดการตื่นตัวต่ออิทธิพลจาก

                       ศิลปะตะวันตก  แท้ที่จริงแล้วแนวทางตะวันตกได้เริ่มเข้ามามีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ยตั้งแต่รัชสมัย
                       พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  และเป็นที่แพร่หลายอย่างมากในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระ

                       จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทว่าเป็นฝีมือของช่างชาวต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่  เช่นเดียวกับรัชสมัย

                       พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  ที่มีการน าเข้าศิลปินต่างประเทศเพื่อสร้างสรรค์งาน

                       ศิลปกรรมต่างๆ  จ านวนมาก  อย่างไรก็ตามในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  เป็น

                       ช่วงเวลาที่วิทยาการตะวันตกได้รับความนิยมในหมู่ศิลปินไทย  ซึ่งน ามาปรับใช้เพื่อสร้างสรรค์งาน
                       อย่างแพร่หลาย


                              การปฏิสังขรณ์จิตรกรรมที่พระระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดารามแห่งนี้ รวบรวมช่างเขียนชาว

                       สยามส าคัญประจ ายุคสมัยมากถึง 70 คน โดยผลงานของแต่ละคนนั้นมีแนวโน้มผสมผสานความงาม
                       แบบขนบนิยมดั้งเดิมของไทย เข้ากับวิทยาการจากศิลปะตะวันตก ซึ่งผลงานอาจมีอิทธิพลจากศิลปะ

                       ตะวันตกในระดับที่ต่างกัน  ทั้งนี้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความพึงพอใจและทักษะความช านาญของ

                       ช่างเขียนแต่ละคน

                              จากค าบันทึกของจุลทัศน์  พยาฆรานนท์  ได้กล่าวถึงแนวทางการเขียนภาพว่า  ในช่วง

                       เริ่มต้นของการปฏิสังขรณ์ภาพจิตรกรรมที่พระระเบียงแห่งนี้  กลุ่มช่างเขียนได้มีข้อตกลงให้มีการ

                       ถ่ายถอนภาพจิตรกรรมที่ช ารุด  ซึ่งเขียนเมื่อครั้งรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

                       เอาไว้    และวางแผนในเบื้องต้นว่าจะวาดตามขนบเดิม  อย่างไรก็ตามกลับไม่พบหลักฐานการถ่าย

                       ถอนดังกล่าว จากบันทึกของจุลทัศน์ พยาฆรานนท์กล่าวว่า พระเทวาภินิมมิตผู้เป็นแม่กอง มิได้ท า
                       ตามที่วางแผนไว้  ในขณะที่ช่างเขียนคนอื่นเขียนภาพจิตรกรรมตามขนบนิยมไปแล้ว  แต่พระเทวาภินิ

                       มมิตกลับเขียนภาพจิตรกรรมห้องที่ 1  โดยน าเสนอรูปแบบซึ่งผสานเอาหลักวิทยาการตะวันตก เข้ากับ

                       ศิลปะตามขนบนิยมแบบไทย ท าให้ช่างเขียนคนอื่นๆ ที่เขียนภาพตามขนบดั้งเดิม ท าการลบภาพของ
   248   249   250   251   252   253   254   255   256   257   258