Page 262 - kpi20858
P. 262
219
ห้องที่ ธรรมชาติ การวิเคราะห์
รูปทรงของก้อนหิน ซึ่งวาดโดย เหม เวชกร นั้น
แสดงให้เห็นถึงมวลอันหนาหนัก ซึ่งเกิดจากการ
69 สร้างค่าน ้าหนักอ่อนแก่ของแสงเงา ส่งเสริมให้เกิด
พื้นผิว และสะท้อนความรู้สึกถึงความแข็งแกร่ง
ของหินได้เป็นอย่างดี
ตารางที่ 4 รูปทรงแบบอุดมคติผสานความเหมือนจริง ในงานจิตรรรมที่พระระเบียงวัดพระศรี รัตนศาสดาราม
กรุงเทพมหานคร
ที่มา: ผู้วิจัย
จากตารางที่ 4 แสดงให้เห็นถึงการวิเคราะห์รูปทรงแบบอุดมคติผสานความเหมือนจริง โดย
อาศัยหลักหลักกายวิภาค อันประกอบด้วยสัดส่วน ตลอดจนกล้ามเนื้อที่ถูกต้องสมจริง อีกทั้งยังมี
การสร้างปริมาตรของรูปทรงด้วยสีและแสงเงา นอกจากนี้พบว่าการน าเสนอรูปทรงมนุษย์ที่เป็น
พระ นาง หรือยักษ์ และลิง ที่เป็นตัวละครเอกของเรื่อง ยังคงลักษณะเฉพาะแบบอุดมคติไว้ ในขณะ
ที่รูปทรงที่อยู่ในชนชั้นรองลงไปมีการน าเสนอรูปทรงที่เลียนแบบความจริงมากกว่า คล้ายคลึงกับ
จิตรกรรมตามขนบนิยมของไทย ทว่าการน าเสนอความสมจริงในจิตรกรรมที่พระระเบียงแห่งนี้มี
ความชัดเจนมากกว่าในอดีต ดังนั้นสามารถสรุปได้ว่ารูปทรงที่ปรากฏบนจิตรกรรมฝาผนังที่พระ
ระเบียงแห่งนี้ สามารถแบ่งออกเป็นรูปทรงแบบอุดมคติตามขนบนิยมดั้งเดิมของไทย และรูปทรง
อุดมคติผสานความเหมือนจริง โดยอาศัยหลักกายวิภาค ทั้งนี้ในผนังหนึ่งๆ อาจปรากฏรูปทรงทั้ง
สองรูปแบบคละเคล้ากัน โดยที่แต่ละรูปทรงนั้นอาจปรากฏอิทธิพลจากศิลปะตะวันตกในระดับที่
แตกต่างกัน เช่น ภาพจิตรกรรมห้องที่ 72 ตอน อินทรชิตให้วิรุญมุขจ าแลงกายเป็นตน (ภาพที่ 17)
จากภาพตัวละครเอกของฉากตอน ยังคงรูปลักษณ์ของตัวยักษ์และหนุมานในงานจิตรกรรมตาม
ขนบนิยม หรือปรากฏอิทธิพลจากศิลปะตะวันตกมากจนเข้าใกล้ความเป็นจริงของมนุษย์ ดังเช่น
ภาพเหล่าทหารในกองทัพที่จิตรกรมีความมุ่งหมายแสดงสัดส่วน และกล้ามเนื้อเพื่อเลียนแบบความ
เป็นจริง เป็นต้น ทั้งนี้พบว่าการน าเสนอรูปทรงในแต่ละฉาก มักมีการผสมผสานรูปทรงทั้งสอง
ประเภทไว้ในฉากเดียวกันเสมอ และการน าเสนอภาพลักษณ์ของรูปทรงในผลงานของช่างแต่ละคน
นั้นมีระดับของการรับอิทธิพลจากวิทยาการตะวันตกมากน้อยแตกต่างกัน