Page 165 - kpi20470
P. 165
150
สถานการณ์ด้านการได้รับรางวัลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
สถานการณ์ด้านการได้รับรางวัลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
สถานการณ์ด้านการได้รับรางวัลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแสดงให้เห็นถึงจ านวนองค์กรปกครอง
สถานการณ์ด้านการได้รับรางวัลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแสดงให้เห็นถึงจำนวนองค์กร
ส่วนท้องถิ่นได้ที่รับรางวัลด้านการบริหารงานและธรรมาภิบาลจากหน่วยงานต่างๆ ในระดับประเทศ ซึ่งสะท้อนให้
ปกครองส่วนท้องถิ่นได้ที่รับรางวัลด้านการบริหารงานและธรรมาภิบาลจากหน่วยงานต่างๆ ในระดับ
เห็นถึงศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รายงานสถานการณ์
ประเทศ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
สถานการณ์ด้านการได้รับรางวัลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วยข้อมูล 3 ส่วน ได้แก่
สถานการณ์ด้านการได้รับรางวัลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วยข้อมูล 3 ส่วน ได้แก่
รางวัลของสถาบันพระปกเกล้า
รางวัลของส านักงานคณะกรรมการการกระจายอ านาจ
ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
รางวัลของส านักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม
การทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)
1. รางวัลของสถาบันพระปกเกล้า ส่วนที่ 2 สถิติและข้อมูล : สถานการณ์การกระจายอำนาจและการปกครองส่วนท้องถิ่นไทย
รางวัลจากสถาบันพระปกเกล้าหรือรางวัลพระปกเกล้า ประกอบด้วยรางวัลพระปกเกล้าและรางวัล
พระปกเกล้าทองคำ ในช่วง ปี 2550 – 2561 มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับรางวัลพระปกเกล้า
22
รวม 142 แห่ง เมื่อพิจารณาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละประเภท พบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ที่มีสัดส่วนเคยได้รับรางวัลมากที่สุด คือ เทศบาลนคร คิดเป็นร้อยละ 43.33 ของเทศบาลนครทั้งหมด และ
องค์การบริหารส่วนตำบล เคยได้รับรางวัลน้อยที่สุด คิดเป็นร้อยละ 0.81 ขององค์การบริหารส่วนตำบล
ทั้งหมด
22 รางวัลพระปกเกล้า เป็นรางวัลและใบประกาศกิตติคุณที่จัดขึ้นโดยสถาบันพระปกเกล้าเพื่อมอบให้แก่องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นที่เป็นเลิศในประเภทต่างๆ ตั้งแต่ปี 2544 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน โดยแบ่งเป็นประเภทรางวัล ได้แก่ 1) รางวัลส่งเสริม
การมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจการท้องถิ่น 2) การเสริมสร้างสันติสุขและความสมานฉันท์ในท้องถิ่น และ 3) การเสริมสร้าง
เครือข่ายจากภาคส่วนต่างๆ ในการดำเนินงานพัฒนาท้องถิ่น
รางวัลพรปกเกล้าทองคำ เป็นรางวัลที่ริเริ่มขึ้นเพื่อสร้างแรงจูงใจแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เคยได้รับรางวัล
พระปกเกล้า มีการพัฒนาต่อยอดการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง และสร้างสรรค์นวัตกรรมทางการบริหารงานท้องถิ่นอยู่เสมอ และ
ยังเป็นการเชิดชูเกียรติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นสุดยอดด้านความโปร่งใสและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน
ด้านการเสริมสร้างสันติสุขและสมานฉันท์ และด้านการเสริมสร้างเครือข่ายรัฐ เอกชน และประชาสังคม โดยมีเงื่อนไข คือ ต้องเป็น
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เคยได้รับรางวัลพระปกเกล้าในประเภทเดียวกันมาแล้ว 2 ครั้ง ในระยะเวลา 5 ปี ย้อยหลัง เพื่อเป็นแบบ
อย่างที่ดีแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นๆ ในประเทศไทย.
สถาบันพระปกเกล้า 153