Page 87 - kpi19164
P. 87
กับความต้องการของเกษตรกรไทยนักและได้ด าเนินการผิดพลาดในแง่การค้าต้องขาดทุนไปเป็น
จ านวนมาก ในระยะ 3 ปีแรกของแผนพัฒนา
ในช่วงหลังจึงได้เน้นไปในด้านปรับปรุงระบบการสหกรณ์ให้ดีขึ้น โดยส่งเสริมการให้กู้แบบ
ควบคุมในรูปสหกรณ์เครดิตเพื่อผลิตกรรมและช าระบัญชีสหกรณ์ที่อ่อนแอเสีย ส่งเสริมเผยแพร่
หลักการสหกรณ์ให้เกษตรกรเข้าใจว่าเป็นเรื่องการร่วมมือกันในกลุ่มพวกเขาเองมิใช่บริการถาวรของ
รัฐ ในด้านสหกรณ์ที่ดินได้ส่งเสริมการสหกรณ์บ ารุงที่ดินในเขตลุ่มน้ าเจ้าพระยา และปรับปรุง
สหกรณ์นิคมที่มีอยู่ ในระยะหลัง และจะจัดตั้งเพิ่มสหกรณ์เครดิตเพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตาม ในช่วงของการใช้แผนพัฒนาฯ ฉบับนี้ ระบบการบริหารงานราชการงาน
สหกรณ์ได้มีการจัดตั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบมากขึ้น โดยแบ่งส่วนราชการเป็น กรมสหกรณ์ที่ดิน
รับผิดชอบดูแลสหกรณ์บ ารุงที่ดิน สหกรณ์นิคม สหกรณ์เช่าที่ดิน และสหกรณ์เช่าซื้อที่ดินเป็นต้น
กรมสหกรณ์พาณิชย์และธนกิจ รับผิดชอบดูแลสหกรณ์เครดิตเพื่อผลิตกรรม สหกรณ์ออมทรัพย์
สหกรณ์ร้านค้า เป็นต้น กรมตรวจบัญชีสหกรณ์รับผิดชอบดูแลเรื่องการตรวจบัญชีให้สกรณ์ทุก
ประเภททุกสหกรณ์ และส านักปลัดกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ รับผิดชอบดูแลกองงานนาย
ทะเบียนสหกรณ์ กองฝึกอบรมสหกรณ์ กองวิชาการ และกองเศรษฐการสหกรณ์ โดยมีแนวทางการ
พัฒนางานสหกรณ์ ดังนี้
(1) ด าเนินการปรับปรุงและจัดตั้งสหกรณ์บางประเภท โดยยึดหลักว่าสมาชิกสหกรณ์มีความ
เข้าใจหลักการสหกรณ์ สามารถด าเนินงานตามหลักการของสหกรณ์ได้ในเวลาพอสมควร และกิจการ
ของสหกรณ์จะประสบความส าเร็จในระยะเวลาอันสมควร
(2) ส่งเสริมให้สหกรณ์สามารถเลี้ยงตัวเองได้ในระยะเวลาพอสมควร การด าเนินงานในด้าน
การส่งเสริมของรัฐบาล จะหนักไปในด้านวิชาการและอ านวยความสะดวกแก่การด าเนินงานของ
สหกรณ์ให้มากที่สุดเท่าที่จะท าได้ ส่วนสมาชิกของสหกรณ์จะต้องเป็นผู้จัดหาทุนเพื่อการด าเนินงาน
ของสหกรณ์ หากรัฐบาลจ าต้องช่วยเหลือในการให้กู้ยืมเงินทุนในอัตราดอกเบี้ยต่ า สหกรณ์จะต้อง
สามารถส่งใช้คืนได้ภายในก าหนดพอสมควร
(3) การด าเนินงานส่งเสริมสหกรณ์จะต้องประสานกับการด าเนินงานพัฒนาการเศรษฐกิจ
ตามโครงการต่างๆ เช่น โครงการด้านการเกษตร
(4) ท าการทดลองจัดตั้งสหกรณ์รูปแบบใหม่ๆ ในขอบเขตจ ากัด เมื่อได้พิจารณาแล้วว่า
กิจการนั้นๆ อาจก่อตั้งขึ้นได้ในประเทศไทย แต่จะไม่มีการขยายสหกรณ์จนกว่าประชาชนจะเข้าใจ
วิธีการและสามารถด าเนินงานได้
77