Page 169 - kpi19164
P. 169
ทั้งนี้เพื่อให้สถาบันเกษตรกรสามารถเป็นกลไกสนับสนุนการพึ่งพาตนเองของเกษตรกรได้
อย่างแท้จริง การด าเนินนโยบายเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับสหกรณ์อย่างมั่นคงและยั่งยืน ถือว่าเป็น
โจทย์ส าคัญอย่างยิ่งที่รัฐบาลต้องเร่งส่งเสริม ไม่ใช่เพียงแต่มุ่งเน้นการเพิ่มทุนให้กับสหกรณ์ในการน าไปให้
สมาชิกกู้ยืม แต่การส่งเสริมแนวทางใหม่ควรต้องเพิ่มบทบาทของสหกรณ์ในการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน
โดยเฉพาะธุรกิจจัดหาสินค้ามาจ าหน่าย แปรรูปผลผลิต รวบรวมผลผลิต ธุรกิจบริการ เพื่อให้เกิดการ
สร้างรายได้กับสมาชิกโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การน าเทคโนโลยีมาเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ให้กับสมาชิกเพื่อสร้าง
การแข่งขันกับภาคเอกชนได้
6.2 ข้อเสนอแนะ
• ควรส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจหลักสหกรณ์และมีการเรียนการสอนตั้งแต่
ระดับประถม เพื่อวางรากฐานคุณค่าและอุดมการณ์สหกรณ์ จึงจะท าให้ประเทศไทย
สามารถพัฒนางานสหกรณ์ได้อย่างยั่งยืน
• ควรส่งเสริมค่านิยมและอุดมการณ์ให้กับสมาชิกอย่างต่อเนื่อง ในการร่วมเป็นเจ้าของและ
เห็นความส าคัญของการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
• รัฐบาลต้องเร่งส่งเสริม ไม่ใช่เพียงแต่มุ่งเน้นการเพิ่มทุนให้กับสหกรณ์ในการน าไปให้สมาชิก
กู้ยืม แต่การส่งเสริมแนวทางใหม่ควรต้องเพิ่มบทบาทของสหกรณ์ในการส่งเสริมเศรษฐกิจ
ชุมชน โดยเฉพาะธุรกิจจัดหาสินค้ามาจ าหน่าย แปรรูปผลผลิต รวบรวมผลผลิต ธุรกิจ
บริการ เพื่อให้เกิดการสร้างรายได้กับสมาชิกโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การน าเทคโนโลยีมาเพิ่ม
มูลค่าผลิตภัณฑ์ให้กับสมาชิกเพื่อสร้างแข่งขันกับภาคเอกชนได้
• ควรต้องเร่งพัฒนาความรู้และความสามารถด้านการตลาดและการบริหารจัดการของ
สหกรณ์ เพื่อให้สถาบันเกษตรกรเป็นกลไกสนับสนุนการพึ่งตนเองได้อย่างแท้จริง
• รัฐควรส่งเสริมและยกระดับสหกรณ์ที่มีศักยภาพโดยใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยเรื่องของการแปร
รูปเพื่อเพิ่มมูลค่า รวบรวมสินค้าและจ าหน่าย ซึ่งจะท าให้สมาชิกมีรายได้มากขึ้น
• รัฐไม่ส่งเสริมนโยบายประกันราคาหรือรับจ าน า เพราะจะท าให้สมาชิกน าผลผลิตไปขาย
ให้กับเอกชนและส่งผลกระทบต่อสหกรณ์ได้
• ควรมีระบบตรวจสอบธรรมาภิบาลของสหกรณ์อย่างเข้มงวด และการน าเงินทุนของสหกรณ์
ไปลงทุน อาทิ สหกรณ์ออมทรัพย์ซึ่งมีมูลค่าสูงสุด เมื่อเทียบกับสหกรณ์ประเภทอื่นๆ
158