Page 168 - kpi19164
P. 168

และรวมกันขายผลผลิตของสมาชิกเพื่อจะได้ราคาที่สูงขึ้น มีสามารถสร้างอ านาจต่อรองทางการตลาด
                   ให้กับสมาชิกได้มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการด าเนินกิจการด้านการตลาดแทนสมาชิก มีการจัดตั้งตลาด

                   กลางเพื่อตัดปัญหาพ่อค้าคนกลางซึ่งเป็นการพัฒนาองค์กรท้องถิ่นให้เข้มแข็ง และสามารถพึ่งตนเองได้ใน

                   ระยะยาวและยั่งยืน
                           ปัจจุบันประเทศไทยใช้พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2553

                   ได้ก าหนดสหกรณ์ไว้ 7 ประเภท คือ สหกรณ์การเกษตร สหกรณ์นิคม สหกรณ์ร้านค้า สหกรณ์บริการ

                   สหกรณ์ออมทรัพย์ สหกรณ์ประมง และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน จากพัฒนาการสหกรณ์ของไทย จะเห็นได้
                   ว่าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ได้ทรงวางรากฐานงานด้านสหกรณ์จนท าให้เกิดการ

                   พัฒนามาจนถึงปัจจุบัน สามารถช่วยเหลือกลุ่มเกษตรกร แรงงาน และชุมชน ได้อย่างกว้างขวาง

                   โดยเฉพาะการสร้างความเป็นธรรมทางสังคมจากการถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายทุน การแก้ไขปัญหา
                   ความยากจน การช่วยเหลือด้านสวัสดิการและคุณภาพชีวิตของประชาชน ผลจากการด าเนินงานของ

                   สหกรณ์ ประมาณ 102 ปี (พ.ศ. 2459 – 2560) ประเทศไทยมีจ านวนสหกรณ์ทั้งสิ้น (รวมชุมนุม) 8,194

                   แห่ง และมีจ านวนสมาชิก 11,574,271 คน และเงินทุน จ านวน 2,567,547.97 ล้านบาท ส่วนใหญ่จะ
                   เป็นสหกรณ์การเกษตรซึ่งจัดได้ว่าเป็นองค์กรที่เป็นกลไกส าคัญของรัฐในการสร้างมูลค่าเศรษฐกิจและการ

                   พัฒนาประเทศ

                           ปัจจุบันสหกรณ์จะด าเนินธุรกิจ 6 ประเภท ได้แก่ รับฝากเงิน ให้เงินกู้ จัดหาสินค้ามาจ าหน่าย
                   แปรรูปผลผลิต รวบรวมผลผลิต ธุรกิจบริการ ในยุคแรกๆ ของการจัดตั้งสหกรณ์ในประเทศไทย การ

                   ด าเนินธุรกิจของสหกรณ์แต่ละประเภทจะแตกต่างกันตามวัตถุประสงค์ของสหกรณ์ แต่เนื่องจากสภาพ

                   ปัญหาการด าเนินงานของสหกรณ์ที่ต้องพึ่งตัวเองท าให้มีสหกรณ์ในแต่ละประเภทท าธุรกิจที่ไม่แตกต่าง
                   กันในปัจจุบัน ประกอบกับขบวนการสหกรณ์ที่เป็นอยู่ซึ่งมีทั้ง “สหกรณ์แท้” และ “สหกรณ์เทียม” โดย

                   พบว่าสมาชิกขาดความภักดีที่จะสนับสนุนและอุดหนุนธุรกิจสหกรณ์ มักจะเป็นลักษณะของการเป็นผู้

                   ร่วมใช้ฟรี (Free Rider) ท าให้เกิดความเสื่อมศรัทธาต่อขบวนการสหกรณ์ และเมื่อศึกษาในรายละเอียด
                   จะพบว่าสหกรณ์แท้ที่สามารถพึ่งตนเองมีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ในประเทศไทยยังมีจ านวนไม่มาก

                   โดยพิจารณาจากการบริหารเงินภายในสหกรณ์ พบว่าสหกรณ์จ านวนมาก มีเงินทุนหมุนเวียนซึ่งเกิดจาก

                   การกู้ธนาคารเพื่อการเกษตรและน ามาให้สมาชิกกู้อีกต่อ เพื่อหวังก าไรมาใช้ในการบริหารจัดการสหกรณ์
                   และเมื่อพิจารณาธุรกิจที่ด าเนินการ ที่สามารถสร้างผลิตภัณฑ์หรือช่วยเหลือสมาชิก เช่น การแปรรูป

                   ผลผลิต รวบรวมผลผลิต ไม่เกิดการขยายตัวของเศรษฐกิจในกลุ่มสมาชิก หรือไม่มีการด าเนินการ

                   กิจกรรมอย่างแท้จริง



                                                             157
   163   164   165   166   167   168   169   170   171   172   173