Page 36 - kpi17721
P. 36

ต่อมา เทศบาลนครขอนแก่นได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขต

               ขอนแก่น โดยทำ MOU ร่วมกัน และเป็นที่มาของการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าเพื่อจัดสิ่งอำนวยความ
               สะดวกสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ ที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ด้วยระบบรีโมทคอนโทรล จำนวน

               20 คน และสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น ทางลาดสำหรับผู้พิการในพื้นที่สาธารณะ จำนวน 40 จุด

                     ภายใต้แนวคิดและความเชื่อในมิติของการตอบสนองความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง    ท้องถิ่นใจดี
               และตรงจุดตามความต้องการของกลุ่มต่างๆ ในสังคม อีกทั้งแนวคิดการบริหารของเทศบาล

               นครขอนแก่น มีทิศทางที่จะปรับเปลี่ยนบทบาทขององค์กรจากผู้ดำเนินการ ให้มาเป็นฝ่ายสนับสนุน
               เกื้อหนุนแทนบทบาทในการกำหนดทิศทางการพัฒนาและขับเคลื่อนควรที่จะเป็นกลุ่มต่างๆ ที่อยู่ใน
               เขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาล โดยแต่ละกลุ่มจะเข้ามามีบทบาทและอาสาเข้ามาร่วมดำเนินการ
               เพื่อปกป้องสิทธิของตน ซึ่งงานด้านสวัสดิการสังคมสงเคราะห์ในการให้ความช่วยเหลือของหน่วยงาน

               รัฐที่มีต่อประชาชนทุกกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มผู้ยากจน ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มผู้สูงอายุ เด็ก และเยาวชน
               รวมถึงกลุ่มคนพิการ ที่เราปฏิเสธไม่ได้ในการดำเนินการและบริการให้เท่าเทียมกับกลุ่มประชาชน

               ทั่วไป โดยเทศบาลนครขอนแก่นได้กระจายงบประมาณในโครงการไปยังสำนัก/กองที่ได้รับผิดชอบ
               ตามส่วนต่างๆ ตามการดำเนินงาน เช่น การทำทางลาดชัน งบประมาณนี้มาจากสำนักงานช่างเป็น
               ผู้รับผิดชอบหรือมาจากเครือข่าย ดังนั้น การเบิกจ่ายงบประมาณของแต่ละภารกิจงบประมาณนั้นขึ้น
               อยู่กับโครงการ ว่าโครงการแต่ละโครงการใช้งบประมาณเท่าใด และสามารถเบิกจ่ายได้ตามที่กำหนด

               ไว้ในโครงการ

                     เทศบาลนครขอนแก่นได้ให้บริการประชาชน โดยเฉพาะคนพิการนั้น ควรจะเพิ่มคุณค่าและ
               วิธีการให้บริการหรือดำเนินการที่จะให้กลุ่มคนพิการนั้นได้รับการบริการและดูแลได้อย่างครอบคลุม

               และทั่วถึง ซึ่งเดิมแล้วเทศบาลนครขอนแก่นเป็นผู้คิดให้ ทำให้พื้นที่และบทบาทในการเปิดโอกาสให้     การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสวัสดิการสังคม
               ผู้พิการ เข้ามามีส่วนร่วมในการคิด ร่วมทำน้อยมาก เทศบาลจึงเปิดพื้นที่ให้กับกลุ่มคนพิการเข้ามา

               ดูแลและเรียกร้องสิทธิ จึงทำให้กลุ่มคนพิการเหล่านี้มีการภาคีเครือข่ายเพิ่มขึ้นและปรับกระบวนการ
               เพื่อเพิ่มคุณค่าในการเข้าไปดูแลในพื้นที่กลุ่มคนพิการ โดยการเชิญชวนให้ผู้พิการเองเข้ามาบริหาร
               จัดการ และเข้ามากำหนดทิศทางแนวทางที่คนพิการควรจะได้รับจากสังคมหรือหน่วยงานของรัฐควร
               จะดำเนินการให้ เทศบาลนครขอนแก่น จึงได้จัดตั้งคณะกรรมการดำเนินการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์

               เพื่อช่วยเหลือคนพิการขึ้นและคณะกรรมการชุดดังกล่าว ประกอบด้วย ตัวแทนจากคนพิการและ
               เจ้าหน้าที่ของเทศบาลนครขอนแก่น โดยมีหน้าที่ในการวางแผน กำหนดแนวทางในการพัฒนาเพื่อ
               เป็นตัวกลางในการเสนอให้ทางเทศบาลนครขอนแก่น รับรู้และรับทราบนำไปดำเนินการให้กับกลุ่ม

               คนพิการในเขตเทศบาลนครขอนแก่น








                                                                             สถาบันพระปกเกล้า  2
   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41