Page 195 - kpi17073
P. 195
194 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16
4.2) สภาอภิรัฐมนตรีมีอำนาจหน้าที่เป็นอัยการพิเศษ ซึ่งมีอำนาจไต่สวน
(Power of Investigation) ในคดีการใช้สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญและ
ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งประชาชน
และองค์กรของรัฐมีสิทธิเสนอเรื่องให้สภาอภิรัฐมนตรีตรวจสอบข้อเท็จจริง
และ/หรือยื่นคำร้องได้โดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อใช้สิทธิดังกล่าว โดย
ให้มีการอุทธรณ์ได้ที่ศาลยุติธรรมสูงสุดในคดีดังกล่าว
นอกจากนี้ สภาอภิรัฐมนตรียังมีอำนาจพิเศษ (Special Powers) อีก
2 ประการ ดังนี้
1) อำนาจการถ่วงดุล (Balancing Authority)
ในภาวะปกติของแผ่นดิน สภาอภิรัฐมนตรีจะทำหน้าที่ตรวจสอบถ่วงดุล
(Check and Balance) โดยมีอำนาจการถ่วงดุล (Balancing
Authority) ได้ใน 2 แนวทาง ดังนี้
1.1) โดยการแบ่งแยกอำนาจแนวตั้ง (Vertical Separation of Powers)
สภาอภิรัฐมนตรีเป็นองค์กรตัวกลางกันกระทบ (Buffer) ซึ่งทำหน้าที่
ถ่วงดุลมิให้เกิดความขัดแย้งด้านการใช้อำนาจจากเบื้องล่างขึ้นไปสู่เบื้อง
บนในความสัมพันธ์ระหว่างประมุขแห่งรัฐ (พระมหากษัตริย์) กับนายก
รัฐมนตรีซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน ขณะเดียวกันสภา
อภิรัฐมนตรีก็ยังทำหน้าที่ถ่วงดุลมิให้เกิดความขัดแย้งด้านการใช้อำนาจ
จากเบื้องบนลงไปสู่เบื้องล่างในความสัมพันธ์ระหว่างนายกรัฐมนตรีซึ่ง
มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนในการปกครองระดับราชการ
กลางกับผู้ตรวจราชการแผ่นดินภูมิภาค (Regional Administration
Inspectors) และผู้ว่าราชการมณฑลเทศาภิบาล (Governors of
Provincial Municipality) ซึ่งได้รับเลือกตั้งจากประชาชนโดยตรงในการ
ปกครองตนเอง (Self-government) ระดับราชการส่วนท้องถิ่น
1.2) โดยการแบ่งแยกอำนาจแนวนอน (Horizontal Separation of
Powers) สภาอภิรัฐมนตรีเป็นองค์กรตัวกลางกันกระทบ (Buffer) ซึ่ง
ทำหน้าที่ถ่วงดุลมิให้เกิดความขัดแย้งด้านการใช้อำนาจในความสัมพันธ์
ระหว่างสภานิติบัญญัติแห่งชาติที่สมาชิกทั้งวุฒิสภาและสภาผู้แทน
ราษฎรกับนายกรัฐมนตรีซึ่งต่างก็มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจาก
ประชาชนเช่นกัน โดยสภาอภิรัฐมนตรีเป็นทั้งองค์กรตรวจสอบและ
ถ่วงดุลการใช้อำนาจรัฐขององค์อำนาจ 3 ฝ่ายคือ อำนาจนิติบัญญัติ
อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ
การประชุมกลุ่มย่อยที่ 1 2) อำนาจไกล่เกลี่ย (Mediation Authority)
ในภาวะวิกฤติของแผ่นดินที่เกิดจากวิกฤติการณ์การเมือง (Political
Crisis) หรือ วิกฤติการณ์รัฐธรรมนูญ (Constitutional Crisis) สภา