Page 196 - kpi17073
P. 196
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16 195
อภิรัฐมนตรีซึ่งมีอำนาจการเมือง (Political Powers) สามด้านคือ
อำนาจกึ่งนิติบัญญัติ (Quasi-legislative Powers) อำนาจกึ่งบริหาร
(Quasi-executive Powers) และอำนาจกึ่งตุลาการ (Quasi-judicial
Powers) สามารถใช้อำนาจไกล่เกลี่ย (Mediation Authority) ในการ
แก้ไขปัญหาวิกฤตการณ์ทางการเมืองที่เกิดจากความขัดแย้งระหว่าง
องค์กรนิติบัญญัติ องค์กรบริหาร และองค์กรตุลาการ หรือระหว่าง
องค์กรรัฐบาลส่วนกลางกับองค์กรการปกครองท้องถิ่น รวมทั้งการใช้
อำนาจตุลาการภิวัตน์ (Judicial Review หรือ Judicial Activism)
ร่วมกับศาลรัฐธรรมนูญเพื่อทำหน้าที่เป็นองค์กรพิทักษ์รัฐธรรมนูญ
(Guardian of the Constitution) และระบอบประชาธิปไตยอันมี
พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รวมทั้งแก้ไขป้องกันและขจัดปัญหา
เผด็จการรัฐประหาร (Coup d’état Dictators) และปัญหาเผด็จการ
รัฐสภาเสียงข้างมาก (Majoritarian Parliamentary Dictatorship) หรือ
ระบอบทรราชเสียงข้างมาก (Tyranny of Majority) ในรัฐสภาอันเป็น
วงจรอุบาทว์ของการเมืองไทยได้
้ ละ ้ ้ ร สร้า นา รั นกร บ นา ป
4.3.1 ข้อดี คือ โครงสร้างนี้มีการแบ่งแยกอำนาจเป็น 4 ฝ่ายอย่างชัดเจนเพื่อให้มีการ
ถ่วงดุลและคานอำนาจรวมทั้งตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ โดยมิให้มีการควบรวม
อำนาจรัฐ (Fusion of Powers) ซึ่งก่อให้เกิดระบบเผด็จการรัฐสภาเสียงข้างมาก
โดยมีจุดเด่นที่การแบ่งแยกอำนาจจตุอธิปัตย์และนวัตกรรมสถาปนาสภา
อภิรัฐมนตรีให้มีอำนาจรัฎฐาภิบาล (Sovereign Governance) โดยเป็นผู้ถือ
ดุลอำนาจที่มีบทบาทเป็นผู้พิทักษ์รัฐธรรมนูญและระบอบประชาธิปไตยตามหลัก
นิติธรรมทั้งในภาวะปกติและภาวะวิกฤติของแผ่นดินที่จะทำให้ระบบการเมืองไทย
เกิดดุลยภาพและเสถียรภาพในการตรวจสอบการใช้อำนาจโดยมิชอบเพื่อป้องกัน
แก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน
4.3.2 ข้อด้อย คือ โครงสร้างนี้เป็นนวัตกรรมใหม่ที่ยังไม่เคยมีการใช้ในต่างประเทศโดย
เฉพาะประเทศไทย จึงไม่มีประสบการณ์ของความสำเร็จหรือข้อบกพร่องให้เห็นเชิง
ประจักษ์และต้องอาศัยเวลานานพอสมควรในการรณรงค์เผยแพร่ให้มีความรู้ความ
เข้าใจอย่างถ่องแท้เพื่อป้องกันมิให้ผู้ที่สูญเสียผลประโยชน์ที่ได้รับจากโครงสร้าง
อำนาจเก่าคัดค้าน ต่อต้าน และขัดขวางการนำไปใช้ปฏิรูปประเทศไทย ทั้งนี้
โดยต้องมีการวิจัยพัฒนากลไกการปฏิรูปโครงสร้างอำนาจให้มีความสมบูรณ์
ในกรอบร่างรัฐธรรมนูญฉบับธรรมาธิปไตยและร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ
รวมทั้งการวิจัยประเมินผลควบคู่กันไปในระหว่างที่มีการนำนวัตกรรมนี้ไปปฏิบัติ
จริงในสังคมไทย การประชุมกลุ่มย่อยที่ 1