Page 112 - kpi15695
P. 112
คํ า พิ พ า ก ษ า น่ า รู้
ค ดี ป ก ค ร อ ง ข อ ง อ ง ค์ ก ร ป ก ค ร อ ง ส่ ว น ท้ อ ง ถิ่ น
เหล่านั้นมาเบิกความเป็นพยานได้ พยานอาจเกรงกลัวต่ออิทธิพลของ
นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ดังนั้น คณะกรรมการการเลือกตั้ง
จึงได้มีหนังสือหารือไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาว่า กรณีเมื่อ
ศาลอุทธรณ์ได้รับคำร้องของคณะกรรมการการเลือกตั้งแล้ว ผู้บริหาร
ท้องถิ่นจะปฏิบัติหน้าที่ต่อไปไม่ได้ตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ มาตรา
๒๓๙ นั้น เมื่อพิจารณาดูจากบทบัญญัติของพระราชบัญญัติองค์การ
บริหารส่วนจังหวัด พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้บัญญัติ
ในหลักการเดียวกันว่า อำนาจหน้าที่ในการสั่งหรือปฏิบัติราชการของ
รองนายกให้เป็นไปตามที่นากยกมอบหมาย เมื่อนายกซึ่งเป็นผู้มอบ
อำนาจต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่
รองนายกซึ่งเป็นตัวแทนผู้รับมอบอำนาจย่อมไม่สามารถปฏิบัติ
หน้าที่ได้อีกต่อไปเช่นเดียวกัน จึงต้องให้ปลัดองค์กรปกปกครอง
ส่วนท้องถิ่นเป็นผู้รักษาราชการแทนตามที่กฎหมายจัดตั้งองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนดไว้ คณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตอบข้อหารือ
เป็นเรื่องเสร็จที่ ๑๐๖๙/๒๕๕๕ ว่า กฎหมายจัดตั้งองค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่นบัญญัติให้ผู้บริหารท้องถิ่นอาจแต่งตั้งรองผู้บริหารท้องถิ่นเพื่อ
เป็นผู้ช่วยเหลือในการบริหารราชการตามที่ผู้บริหารท้องถิ่นมอบหมาย
ได้ และเมื่อใดที่ผู้บริหารท้องถิ่นไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ กฎหมาย
ได้บัญญัติให้รองผู้บริหารท้องถิ่นตามลำดับที่ผู้บริหารท้องถิ่นจัดหรือ
แต่งตั้งไว้เป็นผู้รักษาราชการแทน คำว่า “ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้”
หมายถึงกรณีใดๆ ที่ทำให้ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ เช่น เจ็บป่วย เดินทาง
ไปต่างประเทศ และย่อมหมายความรวมถึงกรณีที่กฎหมายห้ามมิให้
ปฏิบัติหน้าที่ จากบทบัญญัติดังกล่าวของกฎหมาย จึงเห็นได้ว่าการที่
รองผู้บริหารท้องถิ่นเข้ามาเป็นผู้รักษาราชการแทนนั้น มิได้เกิดจากการ
แต่งตั้งของผู้บริหารท้องถิ่น หากแต่เป็นไปโดยผลของกฎหมาย ซึ่ง
10