Page 108 - kpi15695
P. 108
คํ า พิ พ า ก ษ า น่ า รู้
ค ดี ป ก ค ร อ ง ข อ ง อ ง ค์ ก ร ป ก ค ร อ ง ส่ ว น ท้ อ ง ถิ่ น
๘.๒. อำนาจของปลัดฯ
อำนาจของปลัดฯ
ในการปฏิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจมีความขัดแย้ง
กันระหว่างผู้ได้รับเลือกตั้งกับข้าราชการประจำดังตัวอย่างนายก
เทศมนตรีมีคำสั่งเทศบาลแบ่งงานในหน้าที่ของปลัดเทศบาลให้แก่
รองปลัดเทศบาลอีกสองคนปฏิบัติหน้าที่ในฐานะปลัดเทศบาล กำกับ
ดูแล และรับผิดชอบงานปกติของแต่ละสำนักหรือกอง โดยเสนอเรื่อง
โดยตรงต่อนายกเทศมนตรีโดยไม่ต้องผ่านปลัดเทศบาล ปลัดเทศบาล
เห็นว่า คำสั่งดังกล่าวของนายกเทศมนตรีเป็นการจำกัดอำนาจหน้าที่
ของปลัดเทศบาลลดลงกว่าที่กฎหมายและประกาศกำหนด ไม่อาจ
กระทำได้ คำสั่งดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงได้ไปยื่นฟ้องคดีต่อ
ศาลปกครอง และขอให้ศาลมีคำสั่งทุเลาการบังคับตามคำสั่งดังกล่าว
ของนายกเทศมนตรี
ศาลปกครองเห็นว่า กฎหมายกำหนดอำนาจหน้าที่ของนายก
เทศมนตรีและปลัดเทศบาลไว้แยกจากกัน โดยนายกเทศมนตรีมีอำนาจ
หน้าที่เกี่ยวกับการกำหนดนโยบายและรับผิดชอบการบริหารราชการ
ของเทศบาลให้เป็นไปตามกฎหมาย ส่วนปลัดเทศบาลมีอำนาจหน้าที่
รับผิดชอบควบคุมดูแลราชการประจำของนายกเทศมนตรีให้เป็นไปตาม
นโยบาย และมีอำนาจหน้าที่อื่นตามกฎหมายกำหนดหรือตามที่นายก
เทศมนตรีมอบหมาย กล่าวคือ งานในหน้าที่รับผิดชอบของนายก
เทศมนตรี นายกเทศมนตรีจะต้องเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ หากไม่อาจปฏิบัติ
หน้าที่ดังกล่าวได้ก็ต้องทำเป็นหนังสือให้รองนายกเทศมนตรีเป็น
ผู้ปฏิบัติราชการแทน แต่ถ้ามอบให้ปลัดเทศบาลหรือรองปลัดเทศบาล
ปฏิบัติราชการแทนต้องทำเป็นคำสั่งและประกาศให้ประชาชนทราบ
99