Page 22 - kpi13397
P. 22

กฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง  1



                                 ๑๖
                 ราชการทางปกครอง  จึงมีอำนาจพิจารณาเรื่องทางปกครองและออกคำสั่ง
                 ทางปกครองได้

                      การมีอำนาจในการพิจารณาเรื่องทางปกครองนอกจากจะต้องพิจารณา

                 ในแง่การได้รับแต่งตั้งหรือได้รับมอบอำนาจแล้ว ยังจะต้องพิจารณาในแง่เวลา
                 และสถานที่ด้วย ผู้มีอำนาจพิจารณาเรื่องทางปกครองจะต้องใช้อำนาจนั้นใน
                 ระหว่างระยะเวลาที่ตนดำรงตำแหน่งและในเขตพื้นที่ที่ตนมีอำนาจ การใช้
                 อำนาจโดยฝ่าฝืนเงื่อนไขดังกล่าวย่อมกระทบต่อความสมบูรณ์ของคำสั่งทาง
                 ปกครอง


                      ผู้มีอำนาจพิจารณาเรื่องทางปกครองนอกจากจะเป็นบุคคลคนเดียว
                 ที่เรียกว่า “องค์กรเดี่ยว” แล้ว ยังอาจเป็นคณะบุคคล เช่น คณะกรรมการ
                 ซึ่งเรียกว่า “องค์กรกลุ่ม” ก็ได้ พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทาง
                 ปกครองได้บัญญัติการพิจารณาเรื่องทางปกครองของคณะกรรมการไว้ใน

                 หมวด ๕ ซึ่งมีสาระสำคัญพอสรุปได้ว่า คณะกรรมการซึ่งมีอำนาจพิจารณา
                 เรื่องทางปกครองในเรื่องใดจะดำเนินการพิจารณาเรื่องทางปกครองได้
                 ก็ต่อเมื่อคณะกรรมการนั้นมีองค์ประกอบครบตามที่กฎหมายกำหนด เมื่อมี
                 การแต่งตั้งคณะกรรมการฯครบแล้ว คณะกรรมการนั้นย่อมมีอำนาจพิจารณา
                 เรื่องทางปกครองได้ แม้ว่าต่อมาภายหลังจะปรากฏว่าการแต่งตั้งกรรมการ

                 บางคนจะมิชอบด้วยกฎหมายหรือปรากฏว่ากรรมการคนใดคนหนึ่งขาด
                 คุณสมบัติ หรือมีลักษณะต้องห้าม ก็ไม่ส่งผลกระทบต่อความสมบูรณ์ของ
                 การพิจารณาเรื่องทางปกครองที่กรรมการผู้นั้นได้ทำไปในฐานะหน้าที่ของ
                                  ๑๗
                 กรรมการแต่อย่างใด  อย่างไรก็ตามเนื่องจากคณะกรรมการที่มีอำนาจ
                 พิจารณาเรื่องทางปกครองเป็น “องค์กรกลุ่ม” ดังนั้นการพิจารณาของ
                 คณะกรรมการจะมีผลสมบูรณ์ในทางกฎหมายได้ ก็ต่อเมื่อได้ปฏิบัติตาม
                 หลักเกณฑ์ที่กฎหมายบัญญัติ เช่น มีการนัดประชุมถูกต้อง มีการเปิดโอกาส



                    ๑๖   ดู มาตรา ๕ พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙
                    ๑๗   ดู มาตรา ๑๙ พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27