Page 360 - kpi12821
P. 360
แนวทางปรับปรุงกฏหมายเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมือง
2.2 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย
พรรคการเมือง พ.ศ. 2550
ตารางที่ 7 ข้อเสนอการแก้ไขกฎหมายพรรคการเมือง
(1) อำนาจของ - ปรับปรุงมาตรา 91 วรรคสอง มาตรา 93 วรรคสอง และ
นายทะเบียน มาตรา 95 โดยกำหนดให้คณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นองค์กร
พรรคการเมืองและคณะ หลักในการพิจารณาการสิ้นสภาพพรรคการเมืองและการเสนอ
กรรมการการเลือกตั้ง คำร้องเพื่อยุบพรรคการเมือง ส่วนนายทะเบียนพรรคการเมืองให้
เป็นองค์กรรอง มีอำนาจหน้าที่ควบคุมพรรคการเมืองในเรื่อง
อื่นๆ ทั่วไป ทั้งนี้ เมื่อมีการร้องเรียนหรือนายทะเบียนพบเหตุ
ต้องสงสัยว่า มีพรรคการเมืองเข้าข่ายต้องสิ้นสภาพหรือต้องด้วย
เหตุยุบพรรคการเมือง ให้นายทะเบียนเสนอเรื่องต่อ กกต. เพื่อ
พิจารณา
กล่าวอีกนัยหนึ่ง อำนาจในการวินิจฉัยให้พรรคการเมือง
สิ้นสภาพไปก็ดี อำนาจในการเสนอคำร้องไปยังศาลรัฐธรรมนูญ
ก็ดี เป็นอำนาจของ กกต. มิใช่ อำนาจร่วมกัน (Co-decision)
ของ นายทะเบียนและ กกต. ดังเช่นที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
(2) เหตุแห่งการสิ้นสภาพ - ยกเลิกเหตุสิ้นสภาพพรรคการเมืองตามมาตรา 91 (1) เพราะ
พรรคการเมือง ไม่สามารถหาสมาชิกได้ครบ 5,000 คน หรือมีสาขาพรรคครบ
ทุกภาค
- ลดจำนวนสมาชิกขั้นต่ำอันเป็นเหตุสิ้นสภาพตามมาตรา 91 (2)
ให้เหลือ 15 คนดังเช่นกฎหมายพรรคการเมือง 2541
- ปรับปรุงเหตุสิ้นสภาพตามมาตรา 91 (4) การไม่เรียกประชุม
ใหญ่หรือไม่ดำเนินกิจกรรมทางการเมือง โดยขยายระยะเวลา
ออกไปเป็นสองปี
(3) การพิจารณาให้ - ปรับปรุงมาตรา 91 โดยเพิ่มหลักการใหม่ได้แก่
พรรคการเมืองสิ้นสภาพ (ก) ห้ามมิให้นายทะเบียนประกาศให้พรรคการเมืองสิ้น
สภาพในช่วงเวลา 90 วันก่อนวันที่สภาผู้แทนราษฎรครบวาระ
จนถึงวันเลือกตั้ง หรือนับแต่วันที่มีการประกาศใช้พระราช
กฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร ไปจนถึงวันเลือกตั้ง
(ข) ให้การประกาศว่าพรรคการเมืองสิ้นสภาพความเป็น
พรรคการเมืองมีผลตั้งแต่วันที่นายทะเบียนออกประกาศเป็นต้นไป
(ค) ให้สมาชิกของพรรคการเมืองที่ถูกประกาศให้สิ้น
สภาพไป จำนวนไม่น้อยกว่า 15 คน สามารถร้องคัดค้านต่อศาล
รัฐธรรมนูญได้