Page 63 - kpi11890
P. 63
บันทึกเรื่องเด่นรางวัลพระปกเกล้า’ 52
2
ความยั่งยืนในการดำเนินโครงการ
ดังที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้นว่าองค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่ได้ดำเนินการ
สนับสนุนและส่งเสริมการการจัดตั้งหรือการรวมกลุ่มของแม่บ้านมาตั้งแต่ปี
พ.ศ. 2541 จนถึงปัจจุบัน จนประสบความสำเร็จในการดำเนินงานในรูปแบบของ
เครือข่ายกลุ่มแม่บ้านและจัดตั้งเป็นสมาคมแม่บ้าน อบจ.กระบี่ ซึ่งองค์การบริหาร
ส่วนจังหวัดกระบี่ได้เป็นผู้ให้คำปรึกษาแก่กลุ่มแม่บ้านมาโดยตลอดนับตั้งแต่การ
จัดตั้งกลุ่มในระดับหมู่บ้าน ไปจนถึงการจัดให้มีโครงสร้างการบริหารจัดการกันเอง
อย่างเป็นทางการของกลุ่มแม่บ้านในระดับตำบล ระดับอำเภอ ไปจนถึงระดับ
จังหวัดในภาพรวม และปัจจุบันแม้ว่ากลุ่มแม่บ้าน อบจ.กระบี่จะมีความเข้มแข็ง
อย่างมากจนสามารถดำเนินการในรูปแบบของสมาคมแม่บ้าน อบจ.กระบี่ องค์การ
บริหารส่วนจังหวัดกระบี่ก็ยังคงเล่นบทบาทในการเป็นพี่เลี้ยงคอยให้คำปรึกษาแก่
สมาคมอยู่ ทั้งในแง่ของงานเอกสาร อาทิ การเขียนโครงการ การจัดทำรายงานการ
ด้านด้านการเสริมสร้างเครือข่าย รัฐ เอกชน และประชาสังคม
ประชุม การร่างระเบียบข้อบังคับ หรือการพิจารณาให้การสนับสนุนงบประมาณแก่
แม่บ้านกลุ่มต่างๆ ทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่โดยนายกองค์การบริหาร
ส่วนจังหวัดก็จะเข้ามาช่วยพิจารณาจัดลำดับความสำคัญและความจำเป็นของ
โครงการบางกรณี 17
จะเห็นได้ว่าความสัมพันธ์ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่กับกลุ่ม
แม่บ้านจนพัฒนาไปเป็นเครือข่ายแม่บ้าน อบจ.กระบี่/สมาคมแม่บ้าน อบจ.กระบี่
นั้นมีความเป็นมาและมีพัฒนาการเรื่อยมาอย่างยาวนาน ต่างฝ่ายต่างก็ได้ประโยชน์
ซึ่งกันและกันจากการทำงานร่วมกันมาโดยตลอด ทั้งกลุ่มแม่บ้านที่ได้รับการ
สนับสนุนการส่งเสริมอาชีพจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่ให้มีความเข้มแข็ง
ส่วนองค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่ก็ได้ประโยชน์จากเครือข่ายแม่บ้านในการเป็น
กระบอกเสียงประชาสัมพันธ์กิจกรรมขององค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่ และ
17
วนิดา กิตติธรกุล นายกสมาคมแม่บ้านองค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่, สัมภาษณ์โดย
ผู้เขียน, 24 ธันวาคม 2552, องค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่, กระบี่, บันทึกเสียง.