Page 65 - kpi11890
P. 65
บันทึกเรื่องเด่นรางวัลพระปกเกล้า’ 52
ความสามารถในการถ่ายทอดบทเรียนให้กับองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นอื่น
สำหรับความสามารถในการถ่ายทอดบทเรียนให้กับองค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่นอื่นนั้นพบว่ามีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลายแห่งอย่างองค์การบริหาร
ส่วนจังหวัดชุมพรและองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิจิตรมาศึกษาดูงานและขอข้อมูล
จากองค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่ไปดำเนินการ แต่ยังไม่สามารถพัฒนาการ
19
ทำงานไปจนถึงเครือข่ายแม่บ้าน อบจ.กระบี่/สมาคมแม่บ้าน อบจ.กระบี่ได้
อย่างไรก็ตาม หากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสนใจที่จะดำเนินการ
เครือข่ายแม่บ้าน อบจ.กระบี่/สมาคมแม่บ้าน อบจ.กระบี่ อย่างที่องค์การบริหาร
ส่วนจังหวัดกระบี่ดำเนินการนั้นก็สามารถดำเนินการได้ โดยควรสนับสนุนการ
รวมกลุ่ม/ตั้งกลุ่มแม่บ้านเล็กๆ ก่อนโดยใช้หมู่บ้านเป็นฐาน และค่อยๆ ขยับขึ้นไป
จนถึงระดับตำบล อำเภอและจังหวัด (Bottom-Up) สิ่งสำคัญในการทำงานที่
ด้านด้านการเสริมสร้างเครือข่าย รัฐ เอกชน และประชาสังคม
องค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่เน้นย้ำคือ การทำงานที่เริ่มจากมวลชน ซึ่งก็คือ
กลุ่มแม่บ้านกลุ่มต่างๆ ที่มีความครอบคลุมในเชิงพื้นที่ของทั้งจังหวัด องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นที่เริ่มดำเนินงานจากระดับบนลงไประดับล่างยากที่จะประสบ
ความสำเร็จ
สิ่งที่ควรระลึกถึงอีกประการก็คือ เวลา การสร้างเครือข่ายแม่บ้านของ
องค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่จนพัฒนาไปเป็นสมาคมแม่บ้าน อบจ.กระบี่นั้น
ใช้เวลาสิบกว่าปี ความสัมพันธ์ระหว่างองค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่กับกลุ่ม
แม่บ้านจึงมีมานาน มีความไว้ใจและผูกพันกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่
การที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นนำแนวทางขององค์การบริหารส่วนจังหวัด
กระบี่ไปปรับใช้คงไม่สามารถเห็นผลสำเร็จได้ในทันที หากแต่จะต้องอาศัยระยะ
19 กิตติชัย เอ่งฉ้วน รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่, สัมภาษณ์โดยผู้เขียน,
23 ธันวาคม 2552, องค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่, กระบี่, บันทึกเสียง.