Page 69 - kpi11890
P. 69

บันทึกเรื่องเด่นรางวัลพระปกเกล้า’ 52
         0


                    บริบทด้านการเมืองและการบริหาร
ภายใต้วิสัยทัศน์ของคณะผู้บริหาร
              ชุดปัจจุบันได้นำยุทธศาสตร์ของจังหวัดแพร่ในปี พ.ศ. 2550 ภายใต้วิสัยทัศน์
              “เมืองแพร่น่าอยู่สู่วิถีชีวิตล้านนาประชาเป็นสุข” และยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขของ
              จังหวัดแพร่ ภายใต้วิสัยทัศน์ “หมู่บ้าน/ชุมชน สังคมอยู่เย็นเป็นสุขอย่างยั่งยืน”

              รวมถึงการนำนโยบายของอดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่มาปรับใช้
              เพื่อให้เกิดการบูรณาการร่วมกัน ในการที่ร่วมแก้ไขปัญหาของประชาชนชาวจังหวัด
              แพร่อย่างทั่วถึง การดำเนินการของศูนย์เครือข่ายเพื่อแก้ไขปัญหาและส่งเสริมการ

              มีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น หรือ Clinic Center ขององค์การบริหารส่วน
              จังหวัดแพร่ จึงมีการพัฒนาและปรับเปลี่ยนไปตามนโยบายของผู้บริหารชุดปัจจุบัน

                    บริบททางเศรษฐกิจ โครงสร้างที่มาของรายรับขององค์การบริหารส่วน

              จังหวัดแพร่ สำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 รายได้จำนวน  201,460,000 บาท
              (ไม่รวมเงินอุดหนุน เงินกู้ เงินจ่ายขาดจากเงินสะสม) สำหรับเงินอุดหนุนจำนวน
        ด้านด้านการเสริมสร้างเครือข่าย รัฐ เอกชน และประชาสังคม
              108,540,000 บาท ในด้านการคลังขององค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ ได้มีการ
              จัดทำแผนเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษี ประเภทภาษีน้ำมันและภาษียาสูบ

              ผลของการเพิ่มประสิทธิภาพในการเก็บรายได้องค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่
              ส่งผลให้การจัดเก็บรายได้ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่มีอัตรารายได้เพิ่ม
              สูงขึ้นตามลำดับ การจัดทำแผนการจัดเก็บประเภทภาษีน้ำมัน และภาษียาสูบ
              ส่งผลให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ได้รับรางวัลที่ 1 ตามโครงการประเมิน

              องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความพยายามในการจัดเก็บภาษี ประจำปี 2551
              จากกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย


                    บริบททางสังคม
องค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่มีประชากรมีจำนวน
              463,477 คน (ชาย 226,466 คน หญิง 237,011 คน) เมืองแพร่เป็นประตูสู่ล้านนา
              เป็นจุดเยื่อมโยงภาคเหนือตอนบนและภาคเหนือตอนล่างส่งผลให้เมืองแพร่
              มีวัฒนธรรมที่หลากหลายทั้งศิลปวัฒนธรรม สถาปัตยกรรม โบราณสถานและแหล่ง

              ธรรมชาติที่บริสุทธิ์งดงาม ประชากรในจังหวัดแพร่มีวัฒนธรรม ประเพณี และวิถี
              ชีวิตที่เป็นเอกลักษณ์ คนเมืองแพร่มีความรักท้องถิ่นอย่างชัดเจน ประชาชนมีความ
   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74