Page 59 - kpi11890
P. 59
บันทึกเรื่องเด่นรางวัลพระปกเกล้า’ 52
ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการดำเนินโครงการ
จากการดำเนินงานจัดตั้งกลุ่มอาชีพต่างๆ ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด
กระบี่จนพัฒนามามีโครงสร้างอย่างเป็นทางการและมีการทำงานเป็นเครือข่าย
อย่างเป็นรูปธรรมในรูปของสมาคมแม่บ้าน อบจ.กระบี่นั้น พบว่ามีปัจจัยแห่งความ
สำเร็จในการดำเนินงานหลายประการ ได้แก่
ประการที่หนึ่ง องค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่ให้ความสำคัญกับการรวม
กลุ่มแม่บ้านในระดับหมู่บ้านมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 ส่งผลให้การรวมกลุ่มแม่บ้าน
อบจ.กระบี่มีพัฒนาการสั่งสมมาเป็นเวลานาน ทั้งยังเป็นนโยบายของผู้บริหาร
องค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่ในการสนับสนุนการรวมกลุ่มของสตรีให้เป็นพลัง
ในการพัฒนา ซึ่งนโยบายนี้ได้รับการให้ความสำคัญมาอย่างต่อเนื่อง เรียกได้ว่าเป็น
“นโยบายแบบกัดไม่ปล่อย” ของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่
11
ดังจะเห็นได้จากการกำหนดทิศทางการพัฒนากลุ่มแม่บ้านไว้อย่างชัดเจนเป็น
ด้านด้านการเสริมสร้างเครือข่าย รัฐ เอกชน และประชาสังคม
รูปธรรมในนโยบายเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ระบุถึงการสนับสนุนและ
ส่งเสริมการจัดตั้งกลุ่มอาชีพต่างๆ พร้อมทั้งการจัดอบรมและศึกษาดูงาน เพื่อ
เพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ให้กับสมาชิกกลุ่มต่าง ๆ และในทางปฏิบัติ
ผู้บริหารองค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่ก็ยังได้ออกเยี่ยมเยียนกลุ่มแม่บ้านอย่าง
สม่ำเสมอและเดินทางไปเปิดกลุ่มด้วยตนเองมาโดยตลอด โดยสรุปปัจจัยที่ทำให้
เครือข่ายแม่บ้าน อบจ.กระบี่/สมาคมแม่บ้าน อบจ.กระบี่ประสบความสำเร็จ
ประการนี้คือ ความต่อเนื่องในเชิงนโยบายและความตั้งใจของผู้บริหารองค์การ
บริหารส่วนจังหวัดกระบี่
ประการที่สอง
ความเข้มแข็งของกลุ่มแม่บ้านและการมองเห็นถึงเป้าหมาย
ผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการรวมกลุ่ม ซึ่งก่อทำให้เกิดพลังและความมุ่งมั่น ตั้งใจ
ในการทำงานเป็นทีมมากกว่าการดำเนินงานแบบปัจเจก ส่งผลให้การจัดตั้งหรือ
11 กิตติชัย เอ่งฉ้วน รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่, สัมภาษณ์โดยผู้เขียน,
23 ธันวาคม 2552, องค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่, กระบี่, บันทึกเสียง.