Page 158 - kpi11890
P. 158

บันทึกเรื่องเด่นรางวัลพระปกเกล้า’ 52
                                                                                    1

                 เริ่มต้นที่ก่อให้เกิดเครือข่ายที่เป็นรูปธรรมและเป็นผลให้เกิดกิจกรรมอื่นๆ เกิดขึ้น
                 ตามลำดับ ซึ่งกิจกรรมที่เกิดขึ้นตามมาเหล่านั้นล้วนแต่มีส่วนช่วยให้เมืองทุ่งสงเกิด
                 การพัฒนาอย่างต่อเนื่องอันจะนำไปสู่การเป็นเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืนต่อไป นอกจากนี้
                 การดำเนินงานของเครือข่ายการพัฒนาเมืองทุ่งสงแบบบูรณาการเกี่ยวกับการแก้ไข

                 ปัญหาอุทกภัยของเมืองทุ่งสงสามารถชี้วัดความสำเร็จได้อย่างชัดเจนทั้งเชิงปริมาณ
                 และคุณภาพ                                                          ด้านด้านการเสริมสร้างเครือข่าย รัฐ เอกชน และประชาสังคม


                 ขั้นตอนการดำเนินงาน



                      การดำเนินกิจกรรมของเครือข่ายการพัฒนาเมืองทุ่งสงแบบบูรณาการเพื่อ
                 แก้ไขปัญหาอุทกภัยและน้ำท่วมเมืองทุ่งสงอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบนั้น สามารถ
                 จำแนกขั้นตอนการดำเนินงานได้เป็น 8 ขั้นตอน โดยมีรายละเอียดดังนี้


                   1) การรับรู้และตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาร่วม


                      ปัญหาอุทกภัยและน้ำท่วมของเมืองทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่เป็นมา
                 อย่างต่อเนื่องเกือบทุกปีและมีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากขึ้นตามลำดับ ถือเป็น

                 ปัญหาร่วมที่สำคัญของภาคีพัฒนาเมืองทุ่งสง ซึ่งปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบทั้งใน
                 ด้านเศรษฐกิจ สังคม และทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
                 ด้านสังคมได้ก่อให้เกิดความความเดือดร้อนแก่ประชาชนและผู้ประกอบการธุรกิจ

                 และนักลงทุน ซึ่งในช่วงปี พ.ศ. 2548-2549 ที่ต้องประสบปัญหาอุทกภัยติดต่อกัน
                 ถึง 2 ครั้งในระยะเวลาที่ห่างกันเพียง 2 เดือนเท่านั้น เกิดความเสียหายทาง
                 เศรษฐกิจเฉพาะในเขตเทศบาลเมืองทุ่งสงคิดเป็นมูลค่าไม่น้อยกว่า 250 ล้านบาท
                 ส่วนความเดือดร้อนของประชาชนในย่านการค้ามีประมาณ 3,500 หลังคาเรือน
                 และในชุมชนมีประมาณ 4,000 หลังคาเรือน


                      ปัญหาอุทกภัยของเมืองทุ่งสงจึงถือเป็นปัญหาที่ทุกภาคส่วนทั้งหน่วยงาน
                 ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน และภาคองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรับรู้มา
   153   154   155   156   157   158   159   160   161   162   163