Page 154 - kpi11890
P. 154
บันทึกเรื่องเด่นรางวัลพระปกเกล้า’ 52
1
บริบทด้านการเมืองและการบริหาร การบริหารงานของเทศบาลเมืองทุ่งสง
โดยฝ่ายบริหาร คือ นายกเทศมนตรี ได้รับการเลือกตั้งจากประชาชนโดยตรง และ
นายกเทศมนตรีมีหน้าที่กำหนดนโยบายแนวทางการบริหารการพัฒนาท้องถิ่น และ
การให้บริการสนองความต้องการของประชาชน
ลักษณะการบริหารงานของเทศบาลที่สำคัญคือ การบริหารโดยถือ
ประชาชนเป็นศูนย์กลาง ความพอใจสูงสุดของประชาชน คือ เป้าหมายของ ด้านด้านการเสริมสร้างเครือข่าย รัฐ เอกชน และประชาสังคม
เทศบาล บริการประชาชนตามรูปแบบศูนย์บริการร่วมชื่อ Call Center ความ
ต้องการของประชาชนในเขตเทศบาล เป็นตัวกำหนดทิศทางในการให้บริการของ
เทศบาล การกระจายอำนาจการบริหารงานสู่ชุมชนในรูปแบบองค์การบริการ
ชุมชน (อบช.) ประชาชนในเขตเทศบาลมีส่วนร่วมในการบริหารของเทศบาล และ
การบริหารงานยึดหลักการบริหารจัดการที่ดี (Good Governance) บริหารแบบ
โปร่งใส มีคุณธรรม เน้นการมีส่วนร่วม ทั้งในระดับการบริหารงานเทศบาล และ
การบริหารงานพัฒนาชุมชนขององค์การบริการชุมชน (อบช.)
การแบ่งส่วนราชการของเทศบาลเมืองทุ่งสง ได้แก่ สำนักปลัดเทศบาล
กองวิชาการฯ กองคลัง กองช่าง กองสาธารณสุขฯ กองการศึกษา กองสวัสดิการ
สังคม กองช่างสุขาภิบาล มีอัตรากำลังที่เป็นพนักงานเทศบาลสามัญจำนวน
116 คน ลูกจ้างประจำ 40 คน และพนักงานจ้าง 370 คน
สภาพทางการคลัง ในช่วงปีงบประมาณ 2549-2552 เทศบาลเมืองทุ่งสง
มีรายรับมากกว่ารายจ่ายทุกปี แสดงให้เห็นว่าฐานะทางการคลังของเทศบาลเมือง
ทุ่งสงมีความมั่นคงเป็นอย่างมาก ตลอดจนมีศักยภาพในการบริหารจัดการท้องถิ่น
ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล