Page 149 - kpi11890
P. 149
บันทึกเรื่องเด่นรางวัลพระปกเกล้า’ 52
1 2
กระบวนการขับเคลื่อนโครงการของชุมชน เพื่อเป็นแนวทางให้องค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่นอื่นๆ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในหน่วยงาน มีดังนี้
1) การพัฒนาความรู้และแนวทางการแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงาน
ของโครงการฯ
ได้แก่ วิเคราะห์พื้นที่ สร้างองค์ความรู้ของโครงการ “บ้านมั่นคง”
ลองผิด ลองถูก ทำงานอย่างต่อเนื่อง เป็นระบบอย่างมีวิชาการ ใช้ประสบการณ์
วิชาชีพเดิมเป็นต้นทุนและพัฒนาตนเอง สร้างความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นๆ
นำองค์ความรู้จากต่างประเทศมาปรับใช้ให้เหมาะสม และมีการจัดการความรู้จาก
ทุกฝ่าย เจ้าหน้าที่ ชาวบ้านและมีการประชุมสม่ำเสมอ
2) การเข้าใจ เข้าถึง และพัฒนาชุมชน โดยเน้นสร้างผู้นำและทีมทำงาน
ให้เข้มแข็ง สื่อสารทำความเข้าใจอย่างไม่เป็นทางการด้วยภาษาชาวบ้าน รู้จักคน
รู้จักพื้นที่ วิเคราะห์ชุมชน/ปัญหา เสริมสร้างความเข้มแข็งและความมั่นคง
ในคุณภาพชีวิตให้กับชุมชน การพูดคุยเจรจากับชาวบ้านและผู้เกี่ยวข้อง เจรจาให้
ด้านด้านการเสริมสร้างเครือข่าย รัฐ เอกชน และประชาสังคม
ชัดเจน ขอร้อง โน้มน้าว การสร้างเงื่อนไข ข้อตกลง และไม่สั่งการ ร่วมมือกับ
หน่วยงานอื่นๆ และองค์กรท้องถิ่นร่วมพัฒนา และทำงานเป็นทีม แบ่งปันความ
สำเร็จภายในและระหว่างทีม รวมทั้งกำหนดกรอบ ขอบเขต และบทบาทที่ชัดเจน
ในการทำงาน
3) การถ่ายทอดความรู้สู่ชุมชน และบุคคลภายนอก ควรให้ชาวบ้านสื่อ
กับชาวบ้าน สร้างต้นแบบตัวอย่างให้เห็นภาพความสำเร็จ อาจจะเป็นปัจเจกบุคคล
หรือองค์ความรู้ตามหลักภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างชัดเจน ป้องกันและแก้ไขปัญหา
ให้ตรงความต้องการของชุมชนและเข้าใจวัฒนธรรมของชุมชนท้องถิ่น
4) การกำหนดเกณฑ์มาตรฐานและตัวบ่งชี้ความสำเร็จในการพัฒนา
ถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชน ประกอบด้วย รายได้เพิ่มขึ้น มีความสุข ความอบอุ่น
และความมั่นคงในการดำรงชีวิต มีจิตสำนึกและทัศนคติในการพัฒนา ชุมชนมี
ส่วนร่วม/ชุมชนเข้มแข็ง มีหลักสูตรชุมชน และภูมิปัญญาชาวบ้านนำความรู้ไปใช้
เกิดการรวมกลุ่ม/เครือข่ายเพิ่มขึ้น และความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรเพิ่มขึ้น