Page 160 - kpi11890
P. 160
บันทึกเรื่องเด่นรางวัลพระปกเกล้า’ 52
1
การประชุมเครือข่ายจัดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2549 มีผู้เข้าร่วม
ทุกภาคส่วนทั้งสิ้น 71 คน โดยสามารถสรุปสาระสำคัญของแนวทางการแก้ไข
ปัญหาได้ดังนี้
1. ควรป้องกันไม่ให้มีการตัดไม้ทำลายป่าต้นน้ำ และต้องมีแผนที่ทาง
อากาศหรือเครื่องบินพารามอเตอร์ร่วมบินตรวจพื้นที่
2. ควรสร้างแหล่งเก็บกักน้ำเพิ่มหรือสร้างโครงการแก้มลิงเพื่อรองรับ
ปริมาณน้ำ อาทิ การสร้างแหล่งเก็บน้ำเนินเขาเพื่อลดการไหลของน้ำ ด้านด้านการเสริมสร้างเครือข่าย รัฐ เอกชน และประชาสังคม
ลงมาสู่ด้านล่าง
3. ควรขุดลอกขยายคลองธรรมชาติที่รับน้ำจากพื้นที่เทศบาลเมืองทุ่งสง
เพื่อให้ระบายลงไปยังพื้นที่ตอนล่าง
4. ควรกำหนดขอบเขตพื้นที่ (zoning) ของประเภทการใช้พื้นที่เขตกสิกรรม
เขตก่อสร้าง
5. ควรสร้างระบบเตือนภัย
6. ควรศึกษารูปแบบการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมของอำเภอหาดใหญ่เป็น
แม่แบบ และให้จัดตั้งคณะทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาทั้งระบบ
การประชุมเครือข่ายเพื่อร่วมค้นหาสาเหตุของปัญหาและแนวทางการแก้ไข
ปัญหาทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว ในช่วงแรกของปี พ.ศ. 2549
มีการประชุมปรึกษาหารือร่วมกันต่อเนื่อง รวมจำนวน 6 ครั้ง โดยได้รับความ
ร่วมมือด้วยดีจากภาคส่วนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย องค์การ
บริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาล และหน่วยงานภาคีพัฒนา
ที่เกี่ยวข้องที่ให้การสนับสนุนงบประมาณและเครื่องจักรกล และจากการประชุม
ร่วมดังกล่าวทำให้เกิดการเรียนรู้ปัญหาและสาเหตุเบื้องต้นในเรื่องน้ำท่วมร่วมกัน
อย่างเป็นระบบที่สามารถสรุปได้ดังนี้
1. พื้นที่ต้นน้ำ ให้ดำเนินการป้องกันการทำลายป่าต้นน้ำและการบุกรุก
พยายามให้เกิดการชะลอน้ำและกักเก็บน้ำด้วยแก้มลิง กำหนดให้มี
ทางลัดเพื่อแบ่งระบายน้ำหรือผันน้ำ จัดทำบ่อดักตะกอนทราย และ
กับดักสิ่งกีดขวางที่มากับน้ำ