Page 101 - kpi10440
P. 101
คู่ มื อ ส ม า ชิ ก ส ภ า ท้ อ ง ถิ่ น
1) การสะท้อนปัญหา ความต้องการ และความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถือเป็นองค์กรที่มีความใกล้ชิดกับปัญหาและ
ความต้องการของประชาชนที่สุด เนื่องจากผู้แทนของประชาชนในท้องถิ่นจะเข้ามาทำ
หน้าที่ทั้งในฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ อย่างไรก็ตามในฐานะที่สภาท้องถิ่น เป็น
องค์กรศูนย์รวมของสมาชิกสภาท้องถิ่น ดังนั้น บทบาทหนึ่งของสภาท้องถิ่น คือ การ
สะท้อนสภาพปัญหา ความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น และความคิดเห็นของตนเอง
ในฐานะ “ตัวแทน” ของประชาชนท้องถิ่นไปยังฝ่ายบริหาร เพื่อให้ฝ่ายบริหารได้ริเริ่ม
ดำเนินโครงการอันเป็นการแก้ไขปัญหา และสนองตอบต่อความต้องการของประชาชนใน
ท้องถิ่น
ฉะนั้น การรวบรวม ศึกษาและวิเคราะห์ปัญหา และความต้องการของ
ประชาชนจึงควรเป็นหน้าที่ของสภาท้องถิ่น หรือ สมาชิกสภาท้องถิ่น เนื่องจากประชาชน
ในท้องถิ่นได้มอบอำนาจอธิปไตยของตนให้แก่สมาชิกสภาท้องถิ่น เพื่อทำหน้าที่เป็น
“ผู้แทน” ของตนเองในการบริหารงานและการพัฒนาท้องถิ่น ข้อมูลเหล่านี้จะเป็น
ประโยชน์ในการควบคุมตรวจสอบการทำงานของฝ่ายบริหารด้วย เทคนิคและวิธีการรับ
ฟังความคิดเห็นของประชาชนสามารถศึกษาเพิ่มเติมในบทที่ 9 ของคู่มือฯนี้
2) จุดเชื่อมทางการสื่อสาร การกระจายข้อมูลข่าวสารระหว่างประชาชน
ชุมชนกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
การมีส่วนร่วม เป็นหัวใจที่สำคัญในการบริหารงานท้องถิ่น ดังนั้น ในเบื้องต้น
เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการร่วมกับองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น จึงควรต้องให้ความสำคัญกับการประชาสัมพันธ์ สื่อสารสภาท้องถิ่น
ในฐานะ “ตัวแทน” ของประชาชนในชุมชนท้องถิ่นจึงต้องทำหน้าที่เป็นหมุดเชื่อมกลาง
ระหว่างประชาชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยทำหน้าที่กระจายข้อมูลข่าวสาร
แผนการดำเนินงาน และผลการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ประชาชน
ทราบ ในฐานะที่ประชาชนเป็น “เจ้าขององค์กร” และการประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินงาน
จะทำให้ประชาชนมีทัศนคติที่ดีต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เคารพ ศรัทธา เชื่อมั่น
สถาบันพระปกเกล้า