Page 26 - kpiebook63005
P. 26

25








                  มีคนเสื้อแดงเข้าร่วมหลายคน แต่หัวข้อในการประชุมเป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับการหารายได้ผ่านธุรกิจ

                  การเกษตร มิใช่ประเด็นทางการเมือง ที่สำาคัญคือ สมาชิกส่วนใหญ่ที่เข้าร่วมประชุมก็ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน
                  หรือบางคนที่ถูกจับก็มิได้เป็นคนเสื้อแดงเสียด้วยซำ้า และหลายคนก็มิได้เป็นคนขอนแก่นอีกด้วย

                  พวกเขาบางคนเล่าว่า หลังจากทหารจับกุมพวกเขาได้ระยะหนึ่ง ทหารบอกว่า พบอาวุธผิดกฎหมายทั้ง
                  ลูกกระสุนปืนและระเบิด แม้พวกเขาจะยืนกรานว่า ไม่ใช่ของพวกเขาแน่นอน แต่ทหารก็ไม่ฟังแต่อย่างใด

                  พวกเขาบรรยายถึงชีวิตระหว่างติดคุกว่า “เหมือนตกนรก” เนื่องจากสภาพของคุกไทยนั้นแออัด สกปรก
                  และลดทอนคุณค่าความเป็นมนุษย์อย่างยิ่ง หลายคนที่ออกมาจากคุกกล่าวว่า ตนเองเหลือแต่ร่างกาย

                  ภายใต้จิตใจที่ตายไปแล้ว แย่ไปกว่านั้นคือ ใครก็ตามที่มาเยี่ยมเยียนหรืออาสาเข้ามาดูแลพวกเขา ผู้นั้น
                  ก็จะถูกสอดส่องและติดตามจากเจ้าหน้าที่ทหารอีก  ในแง่นี้ “ขอนแก่นโมเดล” เป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยี
                                                               24
                  ของการสร้างภาพให้คนเสื้อแดงเป็นปีศาจและจังหวัดขอนแก่นถูกหยิบยกขึ้นมาเพื่อชี้ให้เห็นถึงปัญหาของ
                  คนเสื้อแดงที่อาศัยอยู่ในหนึ่งจังหวัดที่เป็นศูนย์กลางของภาคอีสาน


                          ไม่เพียงเท่านั้น ขอนแก่นยังมีอดีตรัฐมนตรี สมาชิกวุฒิสภา และสมาชิกรัฐสภาหลายคนที่มีบทบาท

                  และชื่อเสียงในระดับประเทศ (ในจำานวนนี้มีบางคนเป็นแกนนำาคนเสื้อแดง) ไม่ว่าจะเป็นนายเสริมศักดิ์
                  พงษ์พานิช  นางระเบียบรัฐ พงษ์พานิช  นายปรีชาพล พงษ์พานิช  นายพงศกร อรรณนพพร  นางดวงแข

                  อรรณนพพร  นายภูมิ สาระผล  นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร  นายอดิศร
                  เพียงเกษ  นายธนิก มาสีพิทักษ์  นายแพทย์เชิดชัย ตันติศิรินทร์ เป็นต้น แต่ถ้านับจากอดีตยังจะพบว่า

                  อดีต ส.ส. ขอนแก่นหลายคนที่อุทิศชีวิตทางการเมืองเพื่อต่อต้านระบอบเผด็จการทหาร ไม่ว่าจะเป็น
                  จารุบุตร เรืองสุวรรณ  แคล้ว นรปติ  ทองปักษ์ เพียงเกษ ฯลฯ


                          ปฏิเสธไม่ได้ว่า ในช่วงกว่าห้าปีที่ผ่านมา (2557-2562) รัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้
                  อาศัยนโยบายประชานิยมจำานวนมากภายใต้ชื่อว่านโยบายประชารัฐ เพื่อหวังครองใจประชาชนและมุ่งหวัง

                  ในการเป็นรัฐบาลหลังจากการเลือกตั้งต่อไป โดยเฉพาะหวังที่จะได้คะแนนเสียงจากคนรากหญ้า ซึ่งแต่เดิม

                  พวกเขารักและศรัทธาในตระกูลชินวัตรและพรรคเพื่อไทย นโยบายประชานิยม อาทิ การเติมเงินผ่านบัตร
                  คนจน ช่วยค่านำ้า ค่าไฟ ค่าเช่าบ้าน เงินขวัญถุงปีใหม่ ค่าเดินทางผู้สูงอายุ โครงการบ้านหนึ่งล้านหลัง
                  เพิ่มเงินเดือนข้าราชการและข้าราชการบำานาญ เพิ่มเงินเดือนกำานันผู้ใหญ่บ้านและอาสาสมัครสาธารณสุข

                  ประจำาหมู่บ้าน (อสม.) ช่วยเหลือเกษตรกรทั้งชาวนา ชาวสวน มีการพักชำาระหนี้เกษตรกร โครงการไทยนิยมยั่งยืน

                  แจกหมู่บ้าน/ชุมชนละ 2 แสนบาท จำานวนราว 82,371หมู่บ้าน/ชุมชนทั่วประเทศ ฯลฯ แถมมีการเร่งอัดฉีด
                                                                                                25
                  เงินมากกว่า 80,000 ล้านบาท ในช่วงสิ้นปี 2561 เพื่อรองรับการเลือกตั้งที่กำาลังจะเกิดขึ้น  มีการจัดตั้ง


                  24  Khajornsak Sitthi, “The Coup and Crisis: the 2014 Military Coup d’état and the Redshirt movement in
                  Thailand,”
                  25   VOICETV, “4 ปี คสช. อัดฉีดงบซื้อใจรากหญ้ากว่า 6 แสนล้าน ไฉนความเหลื่อมลำ้าไม่ลดลง?,” (17 พฤษภาคม
                  2561)  https://voicetv.co.th/read/SykLEcYCz, (เข้าถึงเมื่อ 17 พฤษภาคม 2561) BBCTHAI, “ประชานิยม : รัฐบาล
                  ประยุทธ์อัดฉีดรากหญ้าแค่ไหนในครึ่งปีหลัง ก่อนการเลือกตั้ง,” (28 ธันวาคม 2561), https://www.bbc.com/thai/
                  thailand-46691186, (เข้าถึงเมื่อ 29 ธันวาคม 2561)
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31