Page 21 - kpiebook63005
P. 21

20    การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดขอนแก่น








                      ตัวอย่างเพิ่มเติมถึงเรื่องราวการข่มขู่คุกคามกลุ่มผู้รักประชาธิปไตยหลังรัฐประหารผ่านไปไม่นาน

             เช่น กองกำาลังทหารได้เข้าไปบุกค้นหมู่บ้านแห่งหนึ่งในจังหวัดขอนแก่นยามวิกาล พร้อมยึดสิ่งที่พวกเขาคิดว่า
             คืออาวุธ ไม่ว่าจะเป็นมีดตัดหญ้า มีดในครัวเรือน และนำ้ามันเชื้อเพลิง เรื่องราวเหล่านี้แทบไม่สามารถถูก

             นำาเสนอให้สังคมรับรู้ได้กว้างขวางเนื่องด้วยข้อจำากัดด้านการสื่อสาร เพราะวิทยุชุมชนซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็น
                                                                    5
             แหล่งแลกเปลี่ยนข่าวสารก็ถูกสั่งปิดไปทั่วประเทศหลังรัฐประหาร  แกนนำาคนเสื้อแดงคนหนึ่งในภาคอีสาน
             ระบุว่า ตนเองถูกสร้างความอับอาย ข่มขู่และจับขังตามใจชอบ บ้านของพวกเขาถูกค้นและทรัพย์สินบางอย่าง
             ถูกยึด หมู่บ้านคนเสื้อแดงถูกบังคับให้ต้องปลดธงสีแดงประจำาแต่ละบ้าน จากนั้น ทุกธงถูกเผา แกนนำาเสื้อแดง

             ประจำาหมู่บ้านถูกคุมขังในที่ลับ แม้แต่ตนเองก็ไม่รู้ว่าอยู่ที่ไหน และจะได้รับการปล่อยตัวเมื่อไร  เช่นเดียวกัน
                                                                                            6
             นักกิจกรรมทางการเมืองตามต่างจังหวัดถูกขู่ว่า คนในครอบครัวพวกเขาจะไม่ปลอดภัย หากพวกเขายัง

                                         7
             ไม่หยุดเคลื่อนไหวทางการเมือง  ทำานองเดียวกัน ชาวบ้านถูกห้ามมิให้สวมใส่เสื้อสีแดงเพราะถูกมองว่า
             ทรยศต่อชาติและกษัตริย์  ที่น่าแปลกใจอีกคือ ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ของผู้วิจัยกับชาวบ้านในอำาเภอหนึ่ง
                                   8
             ของจังหวัดขอนแก่นพบว่า แม้แต่ชาวบ้านที่นำาเสื้อแดงมาแขวนหน้าบ้านตามความเชื่อโบราณที่ว่าจะ
             เป็นการป้องกันผีแม่หม้าย ยังต้องขออนุญาตและให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเสียก่อนว่าทำาไปโดยปราศจาก

             แรงจูงใจทางการเมืองใดๆ จริง 9

                      ย้อนกลับไปถึงภายหลังการรัฐประหารในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 แม้ปรากฏการณ์

             การสลายมวลชนผู้รักประชาธิปไตยในสองภูมิภาคดังกล่าว อาจจะไม่รุนแรงเมื่อเปรียบเทียบนับจาก พ.ศ.

             2557 เป็นต้นมา กระนั้นก็ดี การรัฐประหารที่นำาโดยคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ได้เพียรพยายาม
             ทำาทุกทางเพื่อป้องปรามมิให้ผู้รักประชาธิปไตยแสดงออกถึงความผูกพันและติดยึดกับทักษิณ ชินวัตร
             อดีตนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคไทยรักไทย (2544-2549) กระบวนการที่เป็นรูปธรรมที่สุดนอกจาก

             การปราบปรามมิให้พวกเขามีการเคลื่อนไหวทางการเมืองแล้ว รัฐบาล คมช. ได้ออกแบบรัฐธรรมนูญ

             ฉบับปี 2550 และพระราชบัญญัติต่างๆ จำานวนมากเพื่อลดทอนอำานาจของนักการเมือง ขณะที่เพิ่ม
             อำานาจให้กองทัพ ตุลาการ สมาชิกวุฒิสภา ระบบราชการ เทคโนแครต เอ็นจีโอ และบรรดาองค์กรภาค
             รัฐ/เอกชนที่ไม่ได้ยึดโยงกับประชาชน ตลอดจน ได้ผลักดันอย่างหนักหน่วงให้รัฐธรรมนูญฉบับปีดังกล่าว

                                                                    10
             ผ่านการลงประชามติภายใต้กฎอัยการศึกที่ประกาศใช้ในขณะนั้น  รวมถึง คมช. ยังอาศัยศาลรัฐธรรมนูญ
             ในการพิพากษายุบพรรคไทยรักไทยและอาศัยคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำาที่ก่อให้เกิดความเสีย
             หายแก่รัฐ (คตส.) และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เพื่อดำาเนินคดี


             5  Ibid.
             6  THE ISAAN RECORD, “Reconciliation Trainings Target Northeastern Villages” (September 28, 2014), http://
             isaanrecord.com/2014/09/28/reconciliation-trainings-target-northeastern (เข้าถึงเมื่อ 28 กันยายน 2557)
             7  Khajornsak Sitthi, “The Coup and Crisis: the 2014 Military Coup d’état and the Redshirt movement in
             Thailand.”
             8  Ibid.
             9  พิจารณาเพิ่มเติมใน ศิวัช ศรีโภคางกุล, “ปีศาจวิทยากับสังคมการเมืองไทยร่วมสมัย” วารสารการเมืองการปกครอง
             9 (1) (2562), 252-272.
             10  เกษียร เตชะพีระ, “ประชาธิปไตยหลังเลือกตั้ง 23 ธันวาฯ” มติชน, 7 ธันวาคม 2550 หน้า 6
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26