Page 25 - kpiebook63005
P. 25

24    การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดขอนแก่น








                      แม้แต่ในช่วงที่มีสถานการณ์ตึงเครียดทางการเมืองอย่างรุนแรงจากกลุ่มผู้ชุมนุมขับไล่ยิ่งลักษณ์

             ชินวัตรจากคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงปฏิรูปประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์
             แบบอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) การชุมนุมครั้งใหญ่ของภาคอีสานเพื่อสนับสนุนยิ่งลักษณ์

             และต่อต้านการชุมนุมของ กปปส. ได้เกิดขึ้นที่ขอนแก่นเช่นกัน ในวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 โดยกลุ่ม
             ผู้สนับสนุนพรรคเพื่อไทยกว่า 30,000 ราย ได้เข้าร่วมชุมนุมที่บริเวณใกล้ บขส.ขอนแก่นแห่งที่สาม ต่อมา

             ภายหลังยิ่งลักษณ์ประกาศยุบสภาในวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556 มีกำานันผู้ใหญ่บ้านในขอนแก่นประมาณ
             100 คนและกลุ่มผู้สนับสนุนพรรคเพื่อไทยประมาณ 1,000 คน ชุมนุมให้กำาลังใจยิ่งลักษณ์และสนับสนุน

             ให้มีการเลือกตั้งใหม่ที่หน้าศาลากลางจังหวัด 21


                      ยิ่งไปกว่านั้น แม้แต่การลงคะแนนประชามติรับรัฐธรรมนูญ ซึ่งร่างโดยคณะกรรมการจากการแต่งตั้ง
             จากคณะรัฐประหาร ทั้งในฉบับปี 2550 และ 2560 ชาวขอนแก่นเสียงข้างมากได้ปฏิเสธรัฐธรรมนูญทั้ง

             สองฉบับเช่นกัน โดยชาวขอนแก่นร้อยละ 66.51 ไม่รับรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ในขณะที่รัฐธรรมนูญ
             ฉบับปี 2560 นั้น ชาวขอนแก่นลงคะแนนไม่รับร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับด้วยคะแนนเสียง 409,453 ต่อ

             333,807 หรือคิดเป็นร้อยละ 55.09 ต่อ 44.91 และลงคะแนนไม่เห็นชอบในบทเฉพาะกาลว่า ให้วุฒิสภา
             มีสิทธิเป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีด้วยคะแนนเสียง

                                                                22
             407,011 ต่อ 291,657 หรือคิดเป็นร้อยละ 58.26 ต่อ 41.74  ปรากฏการณ์นี้แสดงให้เห็นว่า ชาวขอนแก่น
             ส่วนใหญ่ปฏิเสธไม่รับอำานาจเผด็จการและอำานาจนอกระบบให้เข้ามาแทรกแซงการเมือง


                      ประการที่สาม เนื่องจากจังหวัดขอนแก่นถือว่าเป็นเมืองหลวงของคนเสื้อแดงเช่นเดียวกับจังหวัด

             อุดรธานี และเป็นเป้าหมายในการดำาเนินงานทางการเมืองอย่างเข้มข้นของ คสช.หลังการยึดอำานาจในวันที่
             22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 หนึ่งในความพยายามแรกเริ่มของ คสช. ภายหลังการยึดอำานาจ จึงคือ
             การผลิตและผลิตซำ้าภาพสะพรึงกลัวให้กับขบวนการเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดงในจังหวัดขอนแก่น

             เพื่อลดความชอบธรรมและความน่าเชื่อถือต่อกลุ่มดังกล่าว ตัวอย่างที่ชัดเจนคือ กรณี “ขอนแก่นโมเดล”

             อันปรากฏเป็นข่าวหน้าหนึ่งหลายวันทั่วประเทศ กล่าวคือ หลังรัฐประหารหนึ่งวันคือวันที่ 23 พฤษภาคม
             พ.ศ. 2557 เจ้าหน้าที่ทหารได้จับกุมประชาชนจำานวน 23 คน ที่โรงแรมชัยพฤกษ์ จังหวัดขอนแก่น
             โดยเจ้าหน้าที่ระบุว่า คนเหล่านี้มาจัดประชุมกันเพื่อวางแผนก่อการร้าย ต่อมามีการจับเพิ่มอีกเป็น

             26 คน  พวกเขาถูกจับติดคุกถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 โดยได้รับการปล่อยตัวอย่างมีเงื่อนไขว่า
                    23
             ต้องห้ามเคลื่อนไหวทางการเมือง ในระหว่างถูกจับกุมพวกเขาไม่สามารถติดต่อครอบครัวได้ เรื่องเล่า
             ที่ตรงกันข้ามกับข้อมูลของภาครัฐ คือ วันจัดประชุมดังกล่าวถูกกำาหนดล่วงหน้าไว้นานแล้ว แม้จะ


             21   Ilaw, “3 ปีที่ขอนแก่น: ยิ่งกด ยิ่งปรากฏความเคลื่อนไหว” (30 ตุลาคม 2560) https://freedom.ilaw.or.th/Khonkaen
             underNCPO (เข้าถึงเมื่อ 1 ธันวาคม 2560)
             22  คณะกรรมการการเลือกตั้ง, “สถิติการเลือกตั้ง,” https://www.ect.go.th/ect_th/news_all.php?cid=13 (เข้าถึงเมื่อ
             23 ธันวาคม 2561)
             23  iLaw, “ขอนแก่นโมเดล 24 คน : ฝ่าฝืนประกาศ คสช. ที่ 7/2557, พ.ร.บ. อาวุธปืนฯ, ก่อการร้าย” (25 กรกฎาคม
             2557), https://ilaw.or.th/node/3186 (เข้าถึงเมื่อ 25 กรกฎาคม 2557)
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30