Page 23 - kpiebook63005
P. 23

22    การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดขอนแก่น








             ภายใต้ความพยายามที่จะสถาปนาสร้างระบอบไม่เป็นประชาธิปไตยและปัดปฏิเสธเสียงของ

             ผู้รักประชาธิปไตย ซึ่งถือว่าเป็นเสียงข้างมากในประเทศนี้ได้นำาไปสู่โศกนาฏกรรมในเหตุการณ์ปี 2552
             หรือ “สงกรานต์เลือด” และการสังหารหมู่คนเสื้อแดงในปี 2553 ซึ่งเหตุการณ์หลังมีส่วนทำาให้มีจำานวน

             ผู้เสียชีวิตมากที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทยนับจาก พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา 17


                      คำาถามสำาคัญคือ ทำาไมพรรคไทยรักไทยเรื่อยจนมาถึงพรรคเพื่อไทยจึงได้รับความนิยมในภาคเหนือ
             และภาคอีสาน แม้เริ่มแรกเดิมทีพรรคไทยรักไทยจะอาศัยการควบรวมพรรคการเมืองต่างๆ จนนำาไปสู่ชัยชนะ
             ทางการเมืองในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2544 โดยได้คะแนนเสียงถึง

             248 ที่นั่ง (รวมผลจากการเลือกตั้งซ่อมแล้ว) ภายหลังการเป็นรัฐบาลแรกที่อยู่ครบวาระในประวัติศาสตร์

             การเมืองไทยนับจากปี 2475 ด้วยนโยบายประชานิยมที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและรายได้ของ
             คนรากหญ้า โดยเฉพาะคนภาคเหนือและภาคอีสานอย่างเป็นรูปธรรม  ทำาให้การเลือกตั้งในวันที่ 6 กุมภาพันธ์
                                                                      18
             พ.ศ. 2548 พรรคไทยรักไทยชนะการเลือกตั้งอย่างถล่มทลาย โดยได้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรถึง 377 คน

             ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่พรรครัฐบาลสามารถชนะเกินเสียงกึ่งหนึ่งของที่นั่ง

             ในรัฐสภา รวมถึงต่อมาหลังการรัฐประหารในปี 2549 พรรคพลังประชาชนหรือพรรคที่สืบทอดมาจาก
             พรรคไทยรักไทยยังชนะด้วยเสียงข้างมากแม้จะถูกเอารัดเอาเปรียบจากกลไก คมช. มากก็ตาม โดยพรรค
             พลังประชาชนสามารถจัดตั้งรัฐบาล โดยได้คะแนนเสียง 233 ที่นั่งจาก 480 ที่นั่ง ทำานองเดียวกับการ

             เลือกตั้งในปี 2554 พรรคเพื่อไทยซึ่งสืบทอดมาจากพรรคพลังประชาชน ชนะการเลือกตั้งโดยได้ 265 ที่นั่ง

             จาก 500 ที่นั่ง ซึ่งถือว่าเป็นรัฐบาลที่สองที่ได้คะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของที่นั่งในรัฐสภา


                      แน่นอนว่าฐานเสียงส่วนใหญ่มาจากภาคเหนือและภาคอีสาน คำาถามสำาคัญคือ ทำาไมคนส่วนใหญ่
             ในภาคเหนือและภาคอีสานถึงนิยมในตระกูลชินวัตร รวมถึงนายกรัฐมนตรีที่ได้ภายใต้ร่มเงาของตระกูล
             ชินวัตร งานวิจัยนี้จะอภิปรายในประเด็นดังกล่าวต่อไป อนึ่ง เนื่องจากขอบเขตของทั้งภาคเหนือและ

             ภาคอีสานนั้นค่อนข้างจะใหญ่ งานวิจัยนี้จะให้ความสำาคัญต่อกรณีศึกษาจังหวัดขอนแก่น ด้วยเหตุผล

             บางประการดังนี้

                      ประการที่หนึ่ง จังหวัดขอนแก่นถือเป็นหนึ่งในจังหวัดที่ใหญ่ มีประชากรมากและคงอัตราการ

             เติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงอย่างต่อเนื่องในภาคอีสาน เนื่องด้วยการที่เป็นจังหวัดใหญ่จึงเป็นหนึ่งในจังหวัดของ
             ภาคอีสานที่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและเขตเลือกตั้งจำานวนมาก โดยในการเลือกตั้งปี 2544 และ 2548

             ขอนแก่นมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 11 คน จากจำานวน 11 เขต ในปี 2550 มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
             11 คน จากจำานวน 4 เขต ตลอดจน การเลือกตั้งในปี 2554 มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 10 คน จากจำานวน

             10 เขต และ การเลือกตั้งในปี 2562 มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 10 คน จากจำานวน 10 เขต เช่นกัน


             17  ศิวัช ศรีโภคางกุล, “ความทรงจำาบาดแผล : คนเสื้อแดงจังหวัดภาคเหนือตอนบนกับประวัติศาสตร์ความรุนแรง
             การเมืองไทย,” รายงานวิจัยในโครงการเมธีวิจัย “สันติวิธีและความรุนแรงในสังคมไทย”, สำานักงานกองทุนสนับสนุน
             การวิจัย (สกว.), 2557.
             18   กรณีดังกล่าวแตกต่างจากภาคใต้ พิจารณาใน บูฆอรี ยีหมะ, “ทำาไมพรรคประชาธิปัตย์จึงผูกขาดในภาคใต้?”
             มติชน,18 ธันวาคม 2561  https://www.matichon.co.th/article/news_1277764 (เข้าถึงเมื่อ 18 ธันวาคม 2561)
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28