Page 140 - kpi11663
P. 140

1


              น้ำวัยอ่อน เป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำขนาดเล็กรวมถึงปลานานาชนิดและสัตว์น้ำทะเลอื่นๆ ได้มา
              อาศัยอยู่ร่วมกัน เป็นการสร้างความมั่นคงทางอาชีพให้กับชุมชนชาวประมงพื้นบ้าน ซึ่งโครงการนี้
              มีที่มาจากความต้องการของประชาชน ผ่านสภาพัฒนาเกษตรกรรม อบจ.สตูล ซึ่งองค์การบริหาร
              ส่วนจังหวัดสตูลได้จัดตั้งขึ้น ในปี พ.ศ. 2557 เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาและแก้ไข
              ปัญหาของเกษตรกรที่เกิดขึ้นในท้องถิ่น มีองค์ประกอบของคณะกรรมการที่มาจากภาคส่วนต่างๆ

              ที่เกี่ยวข้องถึง 93 องค์กร โดยมีภาคประชาสังคม ภาคเอกชน และปราชญ์ชาวบ้านในท้องถิ่น
              เป็นหลักถึงร้อยละ 73 องค์กรภาครัฐที่เกี่ยวข้องเป็นฝ่ายสนับสนุน และมีสถาบันวิชาการเป็น
              ที่ปรึกษา สำหรับองค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูลทำหน้าที่เป็นฝ่ายส่งเสริมและดูแลจัดการประชุม
              พบปะ นอกจากนี้สภาฯยังได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการอีก 4 ด้าน ได้แก่ ด้านพืช ด้านประมง
              ด้านปศุสัตว์ และด้านเกษตรกรรมอื่นๆ เพื่อแก้ไขปัญหาการเกษตรแต่ละด้านในท้องถิ่นให้ถูกต้อง
              ตามความเหมาะสมกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น


                    โครงการนี้เริ่มขึ้นหลังจากได้รับทราบปัญหาและแนวคิดในการแก้ไขปัญหาจากที่ประชุม
              สภาฯ ดังกล่าว ซึ่งหากจะดำเนินงานให้สำเร็จจำเป็นต้องบูรณาการร่วมกับเครือข่ายอื่นที่เกี่ยวข้อง
              องค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูลจึงเชิญประมงจังหวัดสตูล ตัวแทนจากที่ว่าการอำเภอท่าแพ และ
              ตัวแทนกลุ่มชุมชนชาวประมงทะเลชายฝั่งพื้นบ้านมาร่วมประชุมหารือเพื่อร่วมกันเป็นเจ้าภาพและ
              กำหนดแนวทางการดำเนินงานร่วมกันโดยมีการลงนามบันทึกความร่วมมือ (MOU) ร่วมกัน
              ระหว่าง องค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล สำนักงานประมงจังหวัดสตูล ที่ว่าการอำเภอท่าแพ และ

              กลุ่มชุมชนชาวประมงทะเลชายฝั่งพื้นบ้าน เพื่อร่วมมือกันทำงาน โดยมีองค์การบริหารส่วนจังหวัด
              สตูลเป็นผู้สนับสนุนงบประมาณ ใช้องค์ความรู้ภาควิชาการจากประมงจังหวัดสตูล การอำนวย
              ความสะดวกจากฝ่ายปกครองในพื้นที่ และภูมิปัญญาชาวบ้านของชุมชนประมงชายฝั่งมาสนับสนุน
              จากการประชุมหารือถึงแนวทางดำเนินงานเพื่อให้การแก้ปัญหาในภาพรวมจึงได้กำหนดกรอบ
              การดำเนินการดังนี้


                    1.  คัดเลือกพื้นที่นำร่อง ซึ่งข้อมูลทางวิชาการของสำนักงานประมงจังหวัดสตูล เห็นควร
                       ดำเนินการบริเวณชายฝั่งทะเลที่มีความลึกของน้ำไม่น้อยกว่า 7 เมตร ซึ่งเหมาะสมต่อ
                       การวางซั้งเชือกได้เป็นอย่างดี โดยเครือข่ายกลุ่มชุมชนชาวประมงทะเลชายฝั่งพื้นบ้าน
                       ร่วมกับสำนักงานประมงจังหวัดสตูล ทำการสำรวจพื้นที่และวัดระดับน้ำที่เหมาะสม






                                                                  รางวัลพระปกเกล้า’ 60
   135   136   137   138   139   140   141   142   143   144   145