Page 135 - kpi11663
P. 135

1


             กระแสรองเข้าด้วยกันเพื่อส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวได้ซึมซับความสวยงามอันหลากหลายของสตูล
             พร้อมทั้งเป็นการยกระดับการท่องเที่ยวกระแสรองให้เป็นที่รู้จักจึงบังเกิดขึ้น

                  องค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล ได้จัดตั้งสภาการท่องเที่ยว องค์การบริหารส่วนจังหวัด
             สตูลขึ้น ในปี พ.ศ.2557 เพื่อพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาความ
             ต้องการที่แท้จริง ภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ในลักษณะสภาความคิด อันมี

             องค์ประกอบจากภาคเอกชนและภาคประชาสังคมเป็นหลัก  ขณะที่ภาครัฐทำหน้าที่เป็นส่วน
             สนันสนุน  และมีภาควิชาการเป็นที่ปรึกษา โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูลเป็นผู้ประสานงาน
             และจัดการประชุม จากโจทย์ที่ว่า ทำอย่างไรให้นักท่องเที่ยวมาสนใจแหล่งท่องเที่ยวทางบกมากยิ่ง
             ขึ้น ประกอบกับการสร้างเส้นทางท่องเที่ยวที่มีศักยภาพสอดรับกับการท่องเที่ยวในปัจจุบัน จึงต้อง
             ใช้ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการกำหนดกระบวนการ รูปแบบ และวิธีการดำเนินการให้บรรลุ

             วัตถุประสงค์ ที่ผ่านมาการขับเคลื่อนกิจกรรมด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดสตูลขาดการมีส่วนร่วม
             จากผู้ประกอบการ ไม่มีการกำหนดปัญหาความต้องการและแนวทางแก้ไขปัญหา โดยลักษณะ
             ต่างคนต่างคิด  ต่างคนต่างทำ  ทำให้เกิดการแข่งขันสูง การตัดราคากันเอง ไม่มีการกำหนดทิศทาง
             ที่ชัดเจน ดังนั้น สภาการท่องเที่ยวฯ จึงได้เชิญผู้มีส่วนเกี่ยวข้องด้านการท่องเที่ยว ทั้งจากภาครัฐ
             ผู้ประกอบการท่องเที่ยวเอกชน และภาคประสังคม ซึ่งทำการท่องเที่ยวชุมชนมาก่อนแล้ว เข้าร่วม
             ประชุมและนำเสนอความคิดวิธีการให้สอดคล้องกับความต้องการร่วมกัน ส่งผลให้ “เครือข่าย
             Satun Wonderland” เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม โดยมีองค์ประกอบของคณะทำงานที่มาจาก

             ภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม และสมาชิกจากโครงการ
             จำนวน 53 ราย เพื่อเป็นกลไกในการระดมความคิดเห็นและวิธีการแก้ไขปัญหาจากภาคประชาชน
             โดยมีเป้าหมายเพื่อกระจายรายได้อย่างยั่งยืนและทั่วถึง เป็นธรรม รวมถึงเชื่อมโยงการท่องเที่ยว
             ทั้งกระแสหลักและกระแสรองพร้อมทั้งส่งเสริมให้กลุ่มผู้ประกอบการท่องเที่ยวมีความเข้มแข็ง
             เริ่มต้นจากการเปิดเวทีให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้กำหนดแนวทางร่วมกันในลักษณะการประชุมเชิง

             ปฏิบัติการ มีการให้ความรู้จากนักวิชาการ  สำรวจความคิดเห็นเรื่อง การกำหนดเส้นทางท่องเที่ยว
             ของจังหวัดสตูล การกำหนดกิจกรรมท่องเที่ยวร่วมกัน  มีการทดสอบเส้นทาง มีการกำหนด
             มาตรฐานในการให้บริการของผู้ประกอบการในเรื่องของบริษัทนำเที่ยว ที่พัก ร้านอาหาร
             ร้านจำหน่ายของที่ระลึก มีการกำหนดหลักเกณฑ์จากคณะอนุกรรมการฯในการคัดเลือกผู้เข้าร่วม
             โครงการ รวมถึงการส่งต่อแนวคิดและวิธีการให้สมาชิกกลุ่มเครือข่าย Satun Wonderland
             ทำหน้าที่ขับเคลื่อนกิจกรรมด้วยตนเอง  มีการแต่งตั้งประธานและคณะทำงาน มีการร่วมสมทบทุน



             รางวัลพระปกเกล้า’ 60
   130   131   132   133   134   135   136   137   138   139   140