Page 18 - ppppr6705
P. 18
ระดับโลกและภูมิภาค
ภัยคุกคามไซเบอร์บางครั้งมาจากการพัฒนาของระบบดิจิทัลและเอไอที่วางกับดัก
และหลุมพลาง โดยเจตนาแก่ผู้ใช้งาน เพื่อดักรับข้อมูลบางอย่างเพื่อน าไปแสวงหาผลประโยชน์โดยมิ
ชอบ ดังนั้น จึงจ าเป็นต้องสร้างจรรยาบรรณดิจิทัลเพื่อเป็นมาตรฐานส าหรับทั้งผู้พัฒนาแพลตฟอร์ม
และผู้ใช้ทุก คนทั้งภาครัฐและเอกชน ปัจจุบันมีความพยายามระหว่างนานาชาติในการก าหนด
นโยบายสาธารณะที่เกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ต โดยถือเป็นหนึ่งในกลไกขององค์การสหประชาชาติด้าน
อินเทอร์เน็ต นอกเหนือไปจากเวที International Telecommunication Union (ITU) ซึ่งเป็น
ประชุมตามปกติของสหประชาชาติ เรียกว่าเวทีธรรมาภิบาลอินเทอร์เน็ต ซึ่งปัจจุบันมีระดับภูมิภาค
ด้วย
จากข้างต้นจะเห็นได้ว่าการรับมือกับภัยคุกคามไซเบอร์อันสืบเนื่องจากการพัฒนาดิจิทัล
และเอไอให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด จ าเป็นต้องประสานความร่วมมือจากทุกฝ่ายทั้งภาครัฐ
ระดับโลกภูมิภาคและระดับประเทศที่จะต้องเห็นถึงความส าคัญของการรู้เท่าทันภัยไซเบอร์
อันสืบเนื่องมาจากการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลและเอไอ โดยที่ตระหนักถึงการรักษาความเป็นส่วนตัว
ของประชาชนผู้ใช้งาน เพื่อปกป้องสิทธิเสรีภาพตามระบอบประชาธิปไตยให้ด ารงอยู่ต่อไปท่ามกลาง
การพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลที่สามารถบั่นทอนสิทธิเสรีภาพและความเป็นส่วนตัวของผู้คนลงไปได้
โดยง่าย
จากที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่าวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการจัดการกับภัยคุกคาม
ทางไซเบอร์ที่เกิดจากการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลและ AI จ าเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายทั้ง
ในระดับประเทศและระดับนานาชาติ อย่างไรก็ตาม ในฐานะพลเมืองโลกเราควรเป็นพลเมืองดิจิทัล
ในเวลาเดียวกัน ผู้ซึ่งค านึงถึงภัยคุกคามทางดิจิทัลและตระหนักรู้ว่าการท่องอินเทอร์เน็ตทุกครั้ง
จะต้องไม่ท าร้ายตัวเองหรือฉ้อโกงผู้อื่น เพราะความตระหนักรู้ทางดิจิทัล มีความส าคัญในฐานะ
จุดเริ่มต้นในการปกป้องสิทธิมนุษยชนในโลกดิจิทัลตั้งแต่ระดับปัจเจกบุคคลอันเป็นฐานส าคัญ
ในการขับเคลื่อนมาตรฐานดิจิทัลให้เป็นนโยบายสาธารณะที่ทั่วโลกจะด าเนินการร่วมกัน
13