Page 89 - kpiebook67035
P. 89
สถาบันพระปกเกล้า
King Prajadhipok’s Institute
ภาคผนวก ก
บันทึกกิจกรรมการค้นหาทุนทางวัฒนธรรมในพื้นที่เทศบาลตำาบลเชียงคาน
ภาพรวมทั่วไปของกิจกรรมการค้นหาทุนทางวัฒนธรรมเทศบาลตำาบลเชียงคาน
การประชุมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาทุนทางวัฒนธรรมในพื้นที่เทศบาล
ตำาบลเชียงคาน จัดขึ้นเมื่อวันอาทิตยที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2565 เวลา 14.00-17.00 น. ณ ที่ทำาการ
ศูนยข้อมูลเมืองเชียงคาน เทศบาลตำาบลเชียงคาน โดยมีคณะผู้วิจัยของสถาบันพระปกเกล้า
เป็นวิทยากรกระบวนการ และมีผู้เข้าร่วมจากภาคส่วนต่าง ๆ ในตำาบลเชียงคาน จำานวน 70 คน
ได้แก่ ผู้บริหารท้องถิ่น เครือข่ายภาคประชาชน ประธานสภาชุมชน ผู้นำาชุมชน กำานัน ผู้ใหญ่บ้าน
ผู้สูงอายุ ครู ข้าราชการ เยาวชน ผู้ประกอบการ และเจ้าหน้าที่เทศบาลตำาบล ในการประชุม
เชิงปฏิบัติการในครั้งนี้มีวัตถุประสงคเพื่อค้นหาทุนทางวัฒนธรรมที่มีอยู่ในพื้นที่ และเพื่อร่วมกัน
วางแผนพัฒนาทุนทางวัฒนธรรมในพื้นที่เทศบาลตำาบลเชียงคานต่อไป
กระบวนการดำาเนินกิจกรรม
กิจกรรมครั้งนี้แบ่งกลุ่มผู้เข้าร่วมออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มบ้านเหนือหรือสิงหเหนือ และ
กลุ่มบ้านใต้หรือเสือใต้ ซึ่งเป็นการแบ่งกลุ่มตามลักษณะตำาแหน่งที่ตั้งของชุมชนที่มีมาแต่เดิม
โดยให้ผู้เข้าร่วมแต่ละกลุ่มร่วมกันระดมความเห็นภายในกลุ่มในประเด็นต่อไปนี้ โดยเขียนความเห็น
ของแต่ละคนลงในกระดาษ post-it หนึ่งบัตรหนึ่งความคิด และติดบัตรคำาเหล่านั้นไว้ที่กระดาษ
ฟลิปชารต
คำาถามส่วนที่หนึ่ง เป็นการค้นหาทุนทางวัฒนธรรม ใช้กระดาษฟลิปชารตรูปปลา โดยให้
้
แต่ละกลุ่มวาดรูปปลาพื้นเมืองที่พบในเชียงคานหรือแม่นำาโขง
- โจทยที่ 1 ในชุมชนของท่านมีสิ่งดี ๆ อะไรบ้าง (หางปลา)
- โจทยที่ 2 สิ่งดี ๆ ที่เป็นทุนทางวัฒนธรรมเหล่านั้นอยู่ที่ใดบ้างในพื้นที่/ชุมชนของท่าน
(ตัวปลา)
- โจทยที่ 3 อนาคตของเชียงคานที่ท่านอยากเห็นโดยใช้ทุนทางวัฒนธรรมที่มี คืออะไร
(หัวปลา)
87