Page 73 - kpiebook67027
P. 73

72    พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว




                  พระราชด�าริที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญ


                         รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวในช่วงก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง
                  ได้มีการร่างรัฐธรรมนูญ 2 ฉบับ ฉบับแรก คือ


                         ร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรก โดยพระกัลยาณไมตรี (ดร.ฟรานซิส บี. แซร์) ร่างขึ้นใน
                  พ.ศ. 2469 สืบเนื่องมาจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชหัตถเลขาถึง

                  พระยากัลยาณไมตรี เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2469 ระหว่างที่พระยากัลยาณไมตรีเยือนประเทศไทย
                  และพักอยู่ที่โฮเต็ลพญาไท พระองค์ทรงใช้หัวเรื่องว่า “Problems of Siam” ประกอบด้วย

                  พระราชปุจฉา 9 ข้อ เกี่ยวกับสภาพการณ์ทางการเมืองที่ประเทศไทยก�าลังเผชิญอยู่ในตอนต้นรัชกาล

                         พระยากัลยาณไมตรีได้ตอบพระราชปุจฉาทุกข้อ เว้นแต่ข้อสุดท้ายในเรื่องปัญหาชาวจีน

                  โดยออกตัวว่า คงจะต้องท�าการศึกษาในเรื่องดังกล่าวให้มากกว่านี้ ก่อนที่จะสามารถแสดง
                  ความคิดเห็นในเรื่องนี้ได้พระยากัลยาณไมตรียังได้ทูลเกล้าฯ ถวายร่างรัฐธรรมนูญฉบับสั้น ๆ

                  12 มาตรา แสดงถึงโครงสร้างของรัฐบาลที่ควรจะเป็นตามความเห็นของพระยากัลยาณไมตรี
                  โดยใช้ชื่อว่า “Outline of Preliminary Draft”


                         ร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่ 2 โดยนายเรมอนด์ บี.สตีเวนส์ ที่ปรึกษากระทรวงการต่างประเทศ
                  และพระยาศรีวิสารวาจา (เทียนเลี้ยง ฮุนตระกูล) ปลัดทูลฉลองกระทรวงการต่างประเทศ ยกร่าง

                  แล้วเสร็จในวันที่ 9 มีนาคม 2474 เป็นเวลาก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองวันที่ 24 มิถุนายน 2475
                  เพียง 3 เดือนเศษเท่านั้น ร่างรัฐธรรมนูญนี้เป็นภาษาอังกฤษ มีชื่อว่า “An Outline of Changes

                  in the Form of Government”

                         โครงสร้างการปกครองตามร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้อยู่ในรูปของระบบรัฐสภา ในทางทฤษฎี

                  พระมหากษัตริย์ยังคงเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารและเป็นผู้มีอ�านาจในทางนิติบัญญัติ ในฐานะที่
                  ทรงเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารจะทรงใช้อ�านาจดังกล่าวผ่านทางนายกรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีจะต้อง

                  รับผิดชอบต่อพระมหากษัตริย์ และในขณะเดียวกันก็อยู่ภายใต้การควบคุมของฝ่ายนิติบัญญัติด้วย
                  ในฐานะที่ทรงมีอ�านาจทางนิติบัญญัติ พระองค์จะทรงใช้อ�านาจดังกล่าวผ่านทางสภานิติบัญญัติ

                  ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกจ�านวนไม่เกิน 75 คน และไม่น้อยกว่า 50 คน ซึ่งตามข้อเสนอจะมาจาก
                  การแต่งตั้งครึ่งหนึ่ง และเลือกตั้งอีกครึ่งหนึ่ง














         inside_KPI-museum-17pt.indd   72                                                              9/11/2566   13:14:48
   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78