Page 65 - kpiebook67015
P. 65
58
3. เน้นการแก้ปัญหาชุมชน สร้างความเป็นเจ้าของร่วมกัน โดยการระดมแรงและทุน
ช่วยเหลือระหว่างกัน ให้เกิดกระบวนการทำงานเป็นทีม สร้างสังคมที่ไม่ทอดทิ้งกัน
แต่เรียนรู้ไปด้วยกันผ่านกระบวนการมีส่วนร่วม โดยเทศบาลตำบลเกาะคาทำหน้าที่เพียงเป็น
ศูนย์กลางในการเชื่อมประสานขอความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาดำเนินการ
ด้านการสร้างความมั่นคง เช่น สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน กระทรวงพัฒนาสังคมและ
ความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดลำปาง
โดยสรุป โครงการดังกล่าวดำเนินการสร้างบ้านใหม่จำนวน 3 หลังและซ่อมแซม
จำนวน 28 หลัง ได้แก่ บ้านหนองจอก 38 หลังคาเรือน แบ่งเป็นบ้านพอเพียง 5 ครัวเรือน
บ้านมั่นคง ซ่อมในที่ดินเดิม 7 ครัวเรือน บ้านมั่นคงสร้างในที่ดินเดิม 1 ครัวเรือน ส่วนบ้าน
เหล่าแม่ปูนมี 120 หลังคาเรือน แบ่งเป็นบ้านมั่นคง ซ่อมในที่ดินเดิม 21 ครัวเรือน
บ้านมั่นคง สร้างในที่ดินเดิม 2 ครัวเรือน และมีการขอสนับสนุนงบประมาณจากสถาบัน
พัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) จำนวน 13 หลัง งบจากศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุ
จังหวัดลำปาง จำนวน 8 หลัง งบจากศูนย์บริการคนพิการจังหวัดลำปาง จำนวน 10 หลัง
นอกจากนี้ ยังดำเนินการให้เกิดความยั่งยืนด้วยจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ “กลุ่มออมทรัพย์
บ้านมั่นคงเกาะคาสุขใจ” ขึ้น เพื่อให้กลุ่มคนเหล่านี้สามารถบริหารจัดการบ้านของตนเองได้
ในอนาคต ผ่านการออมเงินซึ่งกำหนดให้มีการเก็บเงินออมทุกวันที่ 30 ของทุกเดือน
แบ่งการออมออกเป็นเงินสะสมหุ้น เดือนละ 50 บาท เงินสะสมเพื่อกองทุนรักษาดิน รักษา
บ้านเดือนละ 20 บาท กองทุนในการซ่อมแซมบ้าน 30 บาท/เดือน โดยงบประมาณที่ได้จาก
การออมนี้จะนำมาใช้ประโยชน์
รางวัลพระปกเกล้า’ 66