Page 64 - kpiebook67015
P. 64
5
ความยากจนและไม่มีที่อยู่อาศัยของสมาชิกในชุมชนได้อย่างไร จึงร่วมกันวางแผน
เพื่อแก้ปัญหาความยากจนแบบยั่งยืน สร้างรายได้ ลดรายจ่าย มีสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยที่ดี
โดยกำหนดเป้าหมายสำคัญ คือ การก่อสร้างบ้านให้กับผู้ยากไร้พร้อมกับการสร้างความมั่นคง
ในอาชีพและสร้างอนาคตให้กับกลุ่มดังกล่าว โดยกระบวนการมีส่วนร่วมได้ดำเนินการ
ดังนี้
= จัดทีมดำเนินการ แบ่งออกเป็นทีมจัดซื้อวัสดุ ทีมช่างก่อสร้าง ทีมตรวจรับวัสดุ
ทีมตรวจรับงาน
= วางแผนรูปแบบการซ่อมแซมบ้าน กรรมการชุมชนจะดำเนินการร่วมกับเทศบาล
ในการพิจารณาเลือกซื้อวัสดุให้ และดำเนินการสร้าง ซ่อมแซมโดยใช้ช่างภายใน
ชุมชนที่มีความรู้ความสามารถนัดหมายร่วมกันดำเนินการ เหมาทั้งค่าวัสดุและ
ค่าแรง
= กำหนดข้อตกลงร่วมกัน โดยต้องเป็นสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์ในชุมชน (โครงการ
บ้านมั่นคง)
= การซ่อมแซมบ้านเป็นหลัก (ไม่ใช่การต่อเติมหรือทำเพิ่ม) โดยซ่อมบ้านผู้พิการ
สูงอายุที่ไม่มีผู้ดูแล ผู้ด้อยโอกาส ในลำดับแรกก่อน ถ้างบประมาณเกินจากที่
ประมาณการราคาไว้ เจ้าของต้องสมทบเข้ามาช่วย กรณีถ้ามีค่าแรงต้องไม่เกิน
30 % ของราคาวัสดุ
โดยโครงการบ้านมั่นคงเป็นหนึ่งในการขจัดความยากจนและสร้างเมืองเกาะคาให้เป็น
เมืองน่าอยู่และชุมชนที่ยั่งยืน (Sustainable Cities and Communities) ภายใต้การมี
ส่วนร่วมเพื่อ
1. เปิดโอกาสให้ผู้อยู่อาศัยในชุมชนรวมตัวดูแลกันเองและมีส่วนร่วมในการดำเนิน
โครงการตั้งแต่ต้นจนเสร็จสิ้น ได้แก่ การสำรวจข้อมูลบ้านที่ยากจนและบ้านที่ไม่เอื้อ
ต่อการอยู่อาศัย ต้องสร้างใหม่หรือต้องซ่อมแซม เลือกวิธีปรับปรงุสภาพแวดล้อมของชุมชน
คิดเรื่องการออมทรัพย์เพื่อที่อยู่อาศัยให้ยั่งยืน
2. วางแผนรูปแบบและแนวทางการปรับปรุงที่อยู่อาศัยแตกต่างกันไปตามสภาพปัญหา
ของผู้อยู่อาศัย โดยให้สมาชิกในเวทีข่วงผญ๋าพิจารณาและตัดสินใจดูแลกลุ่มคนที่ได้รับ
ความเดือนร้อนด้านที่อยู่อาศัย ผู้ไร้อาชีพเพื่อให้สามารถบริหารจัดการบ้านของตนเองได้
อย่างยั่งยืน
รางวัลพระปกเกล้า’ 66