Page 340 - kpiebook67015
P. 340
ประเด็นการเปลี่ยนแปลง
ผลสัมฤทธิ์
ก่อนดำเนินโครงการ หลังดำเนินโครงการ
ผลเชิงคุณภาพ - ผู้ด้อยโอกาสไม่มีเลข 13 หลัก - ผู้ด้อยโอกาสทางสังคมเข้าถึงสิทธิ
และบัตรประจำตัวประชาชน สวัสดิการต่าง ๆ ที่พึงมี เช่น
- คนพิการ ผู้ยากไร้ถูกทำร้ายร่างกาย การศึกษา สาธารณสุข การทำงาน
ทอดทิ้งจากครอบครัว ปล่อยปละ เบี้ยยังชีพ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
ละเลย ไม่ดูแล ดำรงชีวิตด้วย เป็นต้น
ความยากลำบาก - ช่วยเหลือโดยการสงเคราะห์
ส่งเสริมและสนับสนุน เครื่องอุปโภค
บริโภค เงินสงเคราะห์ ที่อยู่อาศัย
หาอาชีพสำหรับผู้ดูแล ส่งเสริมให้อยู่
ในครอบครัวอย่างมีความสุข
ความสำเร็จของโครงการเกิดขึ้นจากการที่องค์การบริหารส่วนตำบลพลับพลาไชย
ส่งเสริมการทำงานร่วมกันที่เป็นระบบ มีขั้นตอนการดำเนินงาน ตั้งแต่การนำฐานข้อมูล
ความเหลื่อมล้ำซึ่งเกิดจากการรับคำร้องจากช่องทางต่าง ๆ ประมวลผลข้อมูล การคัดกรอง
กลุ่มเป้าหมาย การจัดลำดับการให้ความช่วยเหลือ การตรวจสอบข้อเท็จจริงในรูป
ของคณะกรรมการของศูนย์ช่วยเหลือประชาชน และคณะกรรมการศูนย์ช่วยเหลือสังคม
ซึ่งมีภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมเป็นคณะกรรมการในการพิจารณา มีการติดตามและ
ประเมินผลโครงการดังกล่าวอย่างใกล้ชิดจากบุคลากรในองค์กรและอาสาสมัครชุมชน และ
มีความร่วมมือด้วยดีจากเครือข่าย เพราะปัญหาของประชาชนเกิดจากสาเหตุที่หลากหลาย
การใช้กระบวนการให้ความช่วยเหลือจึงต้องอาศัยความร่วมมือจากเครือข่าย ทั้งภาครัฐ และ
เอกชนเป็นสำคัญ เครือข่ายทางสังคมที่ดีจึงถือเป็นทุนทางสังคม (Social Capital) ที่จะเพิ่ม
ความสำเร็จให้กับองค์กร ความสัมพันธ์ที่ดีจะทำให้องค์กรมีการเชื่อมโยงประสานงานกันดีขึ้น
ทั้งยังสามารถดึงทรัพยากรของแต่ละองค์กรมาประสานเชื่อมโยงกันเพื่อให้เกิดประโยชน์
แก่ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
รางวัลพระปกเกล้า’ 66