Page 333 - kpiebook67015
P. 333

6


           ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลพลับพลาไชยได้ตราข้อบัญญัติ เรื่อง การบริหารกิจการสถานี
           สูบน้ำด้วยไฟฟ้า พ.ศ.2550 (กรณี อบต.ดำเนินการเอง) ขึ้น จำนวน 1 ฉบับ และต่อมาได้มี

           การตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเรื่อง การบริหารกิจการสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า
           พ.ศ. 2563 (กรณี อบต.และกลุ่มผู้ใช้น้ำร่วมกันบริหารจัดการ) โดยมีการแต่งตั้ง
           คณะกรรมการบริหารสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจากองค์การบริหาร
           ส่วนตำบลและตัวแทนจากกลุ่มผู้ใช้น้ำ มีหน้าที่ร่วมกันในการจัดหางบประมาณ

           ในการซ่อมแซม และมีหน้าที่บริหารจัดการ การสูบน้ำ การจัดสรรน้ำ และรายงาน
           ผลการดำเนินงานให้องค์การบริหารส่วนตำบลพลับพลาไชยทราบ นอกจากนี้ยังออกข้อบังคับ
           องค์การบริหารส่วนตำบลพลับพลาไชย เรื่อง ข้อบังคับการบริหารจัดการสถานีสูบน้ำ
           ด้วยไฟฟ้า (ฝายหนองหมู และฝายไซฟ่อน) พ.ศ. 2563 ปัจจุบันมีสมาชิกที่เป็นเกษตรกร

           ผู้ใช้น้ำ จำนวน 350 ราย

                 ระบบน้ำใต้ดิน จากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลการใช้น้ำบาดาลของพื้นที่ตำบลพลับพลาไชย
           พบว่ามีการเจาะบ่อน้ำบาดาลใช้กันเป็นจำนวนมาก อาจมีความเสี่ยงต่อการทรุดตัวของดิน
           และการแปรเปลี่ยนเส้นทางของน้ำใต้ดิน ตัวอย่างเช่น หมู่ที่ 11 (ข้อมูลเดือนพฤษภาคม

           พ.ศ. 2562) พบว่า มีบ่อบาดาลเจาะที่ความลึกเฉลี่ย 60-80 เมตร ทั้งหมด จำนวน
           144 บ่อ แบ่งเป็นบ่อที่ไม่ได้ใช้งานแล้ว (เนื่องจากไม่มีน้ำ) จำนวน 61 บ่อ และบ่อที่สามารถ
           ใช้งานได้ จำนวน 83 บ่อ จึงได้ริเริ่มการสร้างความเข้าใจให้เห็นปัญหาร่วมกัน ให้ความรู้
           แนะนำและชักชวนให้ประชาชนในพื้นที่ราบเชิงเขา และราบลุ่มบางส่วนจัดทำธนาคารน้ำใต้ดิน

           เพื่อเก็บกักน้ำฝนลงใต้ดิน แทนที่จะปล่อยให้ไหลบ่าทิ้งลงมาสู่ที่ต่ำโดยเสียประโยชน์
           ก็จะสามารถเก็บกักน้ำไว้ใต้ดิน เพิ่มปริมาณน้ำใต้ดินในพื้นที่ได้อีกทางหนึ่ง อีกทั้งการทำ
           ธนาคารน้ำใต้ดินยังเป็นการนำขยะรีไซเคิลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว เช่น ขวดน้ำ หิน พลาสติก
           ขวดแก้ว ยางรถยนต์มาใช้ให้เกิดประโยชน์อีกด้วย


           ผลการดำเนินงานตามโครงการน้ำเพื่อชีวิต

                 ระบบน้ำบนดิน มีการสร้างสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าจำนวน 2 แห่ง ได้แก่ สถานีสูบน้ำ
           ด้วยไฟฟ้าฝายหนองหมู สถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าฝายไซฟ่อน และสามารถจัดตั้งกลุ่มบริหาร

           จัดการน้ำอย่างเป็นระบบ โดยความร่วมมือทั้งภาครัฐและเอกชน  มีการตราข้อบัญญัติ
           องค์การบริหารส่วนตำบล เรื่อง การบริหารกิจการสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า พ.ศ. 2550 (กรณี
           อบต.ดำเนินการเอง) มีการตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลตำบล เรื่อง การบริหาร
           กิจการสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า พ.ศ. 2563 (กรณี อบต.และกลุ่มผู้ใช้น้ำร่วมกันบริหารจัดการ)




        รางวัลพระปกเกล้า’ 66
   328   329   330   331   332   333   334   335   336   337   338