Page 332 - kpiebook67015
P. 332

5


                   องค์การบริหารส่วนตำบลพลับพลาไชยจึงวางแผนการสูบน้ำจากประตูน้ำคณฑี ตำบล
             หนองโอ่งมายังตำบลพลับพลาไชย ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร มีค่าใช้จ่ายประมาณ

             200,000-300,000 บาท ต่อปี แต่ก็ยังประสบปัญหาเนื่องจากเส้นทางเดินของน้ำผ่านถึง
             3 ตำบล ทำให้มีประชาชน เกษตรกร ลักลอบสูบน้ำตลอดเส้นทาง กว่าน้ำจะเดินทางมาถึง
             ตำบลพลับพลาไชยจึงเหลือปริมาณน้อย ไม่คุ้มค่าต่อภาระค่าใช้จ่าย ไม่สามารถแก้ปัญหา
             ความเดือดร้อนให้กับประชาชนและเกษตรกรตำบลพลับพลาไชยได้ จากสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น

             ประกอบกับตำบลพลับพลาไชยบางพื้นที่มีลักษณะราบเชิงเขา บางพื้นที่มีระบบชลประทาน
             ไหลผ่านแต่ไม่ได้รับการจัดสรรน้ำ บางครั้งมีการจัดสรรน้ำแต่มักมีการลักลอบสูบน้ำ
             ไม่ได้รอให้น้ำไปถึงปลายทางเสียก่อน เร่งรีบสูบน้ำจนน้ำไม่มีเหลือพอให้กับคนที่อยู่ปลายน้ำ
             บางพื้นที่ไม่มีระบบชลประทานไหลผ่าน คนในชุมชนต่างต้องช่วยเหลือตนเองในการหา

             แหล่งน้ำเพื่อทำการเกษตร หรือหล่อเลี้ยงพืชพันธุ์ที่กำลังได้รับความเสียหายจนก่อให้เกิด
             ปัญหาความขัดแย้ง เกิดความเหลื่อมล้ำในการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ องค์การบริหาร
             ส่วนตำบลพลับพลาไชยตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้มีแนวทาง
             การแก้ปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำของสถานการณ์น้ำในพื้นที่เป็น 2 ระบบ คือระบบน้ำบนดิน

             คือการสร้างสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า และวางระบบบริหารจัดการ และระบบน้ำใต้ดินคือ
             การสร้างธนาคารน้ำใต้ดิน เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนที่ประสบปัญหา
             ขาดแคลนน้ำอุปโภค บริโภค และทำการเกษตร และเพื่อให้มีการจัดสรรน้ำอย่างเป็นระบบ
             ลดความเหลื่อมล้ำให้แก่ประชาชน อีกทั้งส่งเสริม สนับสนุน การจัดหาแหล่งน้ำต้นทุน

             เพิ่มเติมเพื่อความยั่งยืน

                   ระบบน้ำบนดิน ดำเนินการโดยการสร้างสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า ในปี พ.ศ. 2558
             บริเวณฝายหนองหมู โดยองค์การบริหารส่วนตำบลพลับพลาไชยได้ร่วมกับองค์การบริหาร
             ส่วนตำบลดอนคา และกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดสุพรรณบุรี ร่วมกัน

             กำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน โดยให้องค์การบริหารส่วนตำบล
             พลับพลาไชยจัดสร้างสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าขึ้นบริเวณฝายหนองหมู คลองน้ำป่า ตำบลดอนคา
             เพื่อสูบน้ำจากคลองจระเข้สามพันเข้าสู่คลองน้ำป่า และจัดสรรให้เกษตรกรได้ใช้ทำ
             การเกษตร บางส่วนนำไปผลิตน้ำประปาโดยมีข้อตกลงร่วมกันเพื่อไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำ

             ในการใช้ทรัพยากรน้ำ ต่อมาในปี พ.ศ. 2562 องค์การบริหารส่วนตำบลพลับพลาไชยจึงได้
             ก่อสร้างโรงสูบน้ำด้วยไฟฟ้าที่ฝายไซฟ่อนขึ้นอีก 1 แห่ง เพื่อให้เกษตรกรหมู่ 3,4,7,9 ตำบล
             พลับพลาไชยและพื้นที่ตำบลใกล้เคียง เช่น ตำบลไร่รถ ตำบลสนามคลี ตำบลตลิ่งชัน






                                                                             รางวัลพระปกเกล้า’ 66
   327   328   329   330   331   332   333   334   335   336   337