Page 185 - kpiebook67015
P. 185
1 8
องค์ประกอบของเครือข่ายโครงการบริหารจัดการขยะมูลฝอยแบบครบวงจรบนพื้นฐาน
การมีส่วนร่วม ได้แก่
1. เครือข่ายภาครัฐ ได้แก่
= สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสตูล เป็นเครือข่าย
ที่สนับสนุนทางด้านวิชาการและงบประมาณในการบริหารจัดการขยะตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง
และปลายทาง
= องค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล เป็นเครือข่ายที่สนับสนุนด้านการจัดการขยะ
อันตราย โดยเทศบาลเมืองสตูลจัดเก็บรวบรวมขยะอันตรายของชุมชนส่งให้องค์การบริหาร
ส่วนจังหวัดสตูลเพื่อดำเนินการส่งกำจัดอย่างถูกหลักวิชาการ (Sanitary Land Fill)
= สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสตูล เป็นเครือข่ายที่สนับสนุนด้านวิชาการใน
การดำเนินการบริหารจัดการขยะติดเชื้อ
= โรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองสตูล จำนวน 5 แห่ง เป็นเครือข่ายสนับสนุนและ
ส่งเสริมในการจัดการขยะมูลฝอยในโรงเรียน ส่งเสริมให้นักเรียนมีการคัดแยกขยะและนำขยะ
กลับไปใช้ประโยชน์เพื่อลดปริมาณขยะในโรงเรียน
2. กลุ่มองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสตูล
เป็นกลุ่ม Cluster ศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยเทศบาลเมืองสตูล มีจำนวน 17 แห่ง ที่ทำ
บันทึกข้อตกร่วมกับเทศบาลเมืองสตูลในการใช้ศูนย์กำจัดขยะโดยท้องถิ่นทั้ง 17 แห่งนี้
ได้สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมกันด้วยการทำบันทึกข้อตกลง (MOU) กับเทศบาลเมืองสตูล
โดยมีการจัดประชุมเพื่อกำหนดแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพของศูนย์กำจัดขยะมูลฝอย
เทศบาลเมืองสตูลสร้างมาตรการลดปริมาณขยะต้นทาง และข้อกำหนดร่วมกันในการใช้
ศูนย์กำจัดขยะมูลฝอย
3. เครือข่ายสภานายกเทศมนตรี
มีการทำงานร่วมกับเครือข่ายสภานายกเทศมนตรีเมืองสีเขียวร่วมกันวางแผนระดับ
ภูมิภาคและประเทศเพื่อนบ้านจัดทำแผนงาน IMT-GT (The Indonesia – Malaysia –
Thailand Growth Triangle Green Cities Mayor Meeting) ปี 2564 – 2566 โดยได้มี
การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การจัดการขยะมูลฝอย Solid Waste Management เข้าร่วม
รางวัลพระปกเกล้า’ 66