Page 13 - kpiebook67015
P. 13
6
ขั้นที่ 2 ประเมินคุณสมบัติขั้นต้น
คณะวิจัยฯ ทำการพิจารณาข้อมูลเบื้องต้นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่สมัครเข้าร่วม
โครงการทั้งหมด โดยพิจารณาให้คะแนนจากเกณฑ์ตัวชี้วัดขั้นพื้นฐาน และตัวชี้วัดขั้นพัฒนา
(แยกตามประเภทรางวัลฯ) ในขั้นนี้หลักฐานและเอกสารประกอบการพิจารณาที่เกี่ยวข้อง
ซึ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดส่งให้แก่คณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกฯ จะได้รับการตรวจสอบ
และให้คะแนนอย่างถี่ถ้วน
ตัวชี้วัดขั้นพื้นฐาน เป็นภารกิจที่บังคับให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องกระทำหรือ
ต้องดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ ตามระเบียบ และกฎหมาย เช่น แต่งตั้งตัวแทนประชาชน
เป็นคณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น เปิดเผยข้อมูลข่าวสาร เปิดเผยรายรับรายจ่าย การจัดทำ
แผนการจัดซื้อจัดจ้าง เป็นต้น หากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดไม่มีการปฏิบัติตามตัวชี้วัด
ขั้นพื้นฐานตัวใดตัวหนึ่งแล้ว จะถือได้ว่าไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินในขั้นต้น
ตัวชี้วัดขั้นพัฒนา เป็นตัวชี้วัดที่บ่งบอกถึงวิธีการหรือแนวทางการดำเนินงานตามอำนาจ
หน้าที่ ที่มีการพัฒนาและมีความก้าวหน้ามากขึ้น รวมทั้งมีความเข้มข้นในด้านการปฏิบัติงาน
ก่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ ขึ้นในชุมชนท้องถิ่น
“ทั้งนี้ ตัวชี้วัดขั้นพื้นฐานและตัวชี้วัดขั้นพัฒนาที่กล่าวมานั้น จะถูกนำมาแปลงเป็น
ข้อคำถามในใบสมัครเข้าร่วมโครงการรางวัลพระปกเกล้าในแต่ละประเภท ซึ่งจะมีการคิดคะแนน
ที่ให้น้ำหนักแตกต่างกันไปตามความเหมาะสมในแต่ละตัวชี้วัด”
ขั้นที่ 3 ประเมินคุณสมบัติเฉพาะประเด็น แบ่งเป็น
ขั้นที่ 3.1 การประเมินความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่
คณะวิจัยฯ ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนาม โดยการใช้แบบสอบถามในการ
ประเมินความพึงพอใจของประชาชนต่อการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเด็น
ต่าง ๆ
ขั้นที่ 3.2 การประเมินการดำเนินโครงการและกิจกรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
คณะวิจัยฯ ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามโดย การสนทนากลุ่ม
การสังเกตการณ์ และการสัมภาษณ์ประชาชนที่อาศัยในพื้นที่การดำเนินงานของโครงการและ
กิจกรรม
รางวัลพระปกเกล้า’ 66