Page 10 - kpiebook67015
P. 10

ในปี 2564 สถาบันพระปกเกล้า เห็นว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นกลไกที่มี
             ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการทำงานขับเคลื่อนการพัฒนาในระดับพื้นที่ที่มีความใกล้ชิดกับ

             ประชาชนมากที่สุด ซึ่งการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ผ่านมานั้น
             ล้วนตอบสนองความต้องการของประชาชนและแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในพื้นที่มาอย่าง
             ต่อเนื่อง สถาบันพระปกเกล้าจึงได้เพิ่มรางวัลพระปกเกล้า ด้านการลดความเหลื่อมล้ำ
             ในสังคม อีกหนึ่งด้าน เพื่อผลักดันและยกระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ดำเนินงาน

             ขับเคลื่อนประเด็นความเหลื่อมล้ำในระดับพื้นที่มากขึ้น ดังนั้นในปี 2566 รางวัลพระปกเกล้า
             จึงแบ่งออกเป็น 3 ประเภทรางวัล ดังนี้

                  = ด้านที่ 1 รางวัลพระปกเกล้าสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความเป็นเลิศ
                      ด้านความโปร่งใสและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน

                  = ด้านที่ 2 รางวัลพระปกเกล้าสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความเป็นเลิศ
                      ด้านการเสริมสร้างเครือข่ายรัฐ เอกชน และประชาสังคม
                  = ด้านที่ 3 รางวัลพระปกเกล้าสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความเป็นเลิศ
                      ด้านการลดความเหลื่อมล้ำในสังคม

             ประเภทที่ 1

             ด้านความโปร่งใสและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน


                   เพื่อส่งเสริมและกระตุ้นให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตระหนักถึงความสำคัญของ
             หลักธรรมาภิบาลในการปกครองท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักความโปร่งใสในการบริหารงาน
             และหลักการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

             กรอบแนวคิดสำคัญ

















                                                                             รางวัลพระปกเกล้า’ 66
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15