Page 61 - kpiebook66033
P. 61

ชื่อทีมเยาวชน   : ทีม Gen Z รักษ์หญ้าทะเล รักดุหยง
            ชื่อโครงการ   : การอนุรักษ์และฟื้นฟูหญ้าทะเล
                      คืนความอุดมสมบูรณ์สู่ทะเลตรัง
            ชื่อโรงเรียน   : โรงเรียนบ้านฉางหลาง
                      หมู่ 5 ตำาบลไม้ฝาด อำาเภอสิเกา จังหวัดตรัง 92150
            องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่สนับสนุนการดำาเนินงาน
                      องค์การบริหารส่วนตำาบลไม้ฝาด
                      201 หมู่ที่ 4 ตำาบลไม้ฝาด อำาเภอสิเกา จังหวัดตรัง 92150

            ที่มาของโครงการ/เหตุผลและความจำาเป็นในการริเริ่มโครงการ
              แหล่งหญ้าทะเลมีความสำาคัญทั้งในด้านความหลากหลายทางชีวภาพ การทำาประมงปูม้า
            หอยทะเล  อีกทั้งยังเป็นแหล่งอาหารที่สำาคัญของพะยูนและเต่าทะเล  สัตว์สงวนของไทย
            ที่อยู่ในภาวะใกล้สูญพันธุ์ จากการสำารวจข้อมูลสถานภาพในปี พ.ศ.2565 ประเทศไทยมีพะยูน
            ประมาณ 273 ตัว แบ่งเป็นพื้นที่ฝั่งอ่าวไทย 31 ตัว และพื้นที่ฝั่งทะเลอันดามัน 242 ตัว
            โดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดตรังสามารถพบได้มากถึง 187 ตัว จึงอาจกล่าวได้ว่าพะยูนเป็นสัตว์
            ประจำาถิ่นของจังหวัดตรัง ซึ่งพะยูนหนึ่งตัวกินหญ้าทะเลมากถึง 35 กิโลกรัมต่อวัน หญ้าทะเล

            จึงเป็นแหล่งอาหารที่สำาคัญของพะยูน รวมถึงเต่าทะเลและสัตว์ทะเลชนิดอื่น นอกจากนี้
            ต้นหญ้าทะเลสามารถช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจก ที่ก่อให้เกิด
            ภาวะโลกร้อนและกักเก็บในรูปของคาร์บอนสีน้ำาเงิน (Blue carbon) ไว้ใต้ดินได้ดีกว่าป่าบก
            ประมาณ 10 เท่า จึงสามารถกล่าวได้ว่าการกักเก็บคาร์บอนโดยระบบนิเวศทางทะเลและ
            ชายฝั่งมีประสิทธิภาพกักเก็บสูงกว่าป่าบก
               สภาพพื้นที่ในช่วงฤดูลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม
            ของทุกปี ต้นหญ้าทะเลบริเวณแหล่งหญ้าทะเล หาดหยงหลำา ตำาบลบางสัก อำาเภอกันตัง
            จังหวัดตรัง ถูกพายุพัดขึ้นมาอยู่บนบริเวณชายฝั่งเป็นจำานวนมาก เกิดความเสียหายและ
            เน่าเสียกลายเป็นขยะทะเลตามชายหาด ทำาให้แหล่งหญ้าทะเลซึ่งเป็นแหล่งอาหารของพะยูน

            และเต่าทะเลมีจำานวนลดลง และส่งผลกระทบต่อปูม้า กุ้ง หอยทะเล รวมถึงสัตว์ทะเลวัยอ่อน
            ที่ต้องอาศัยแหล่งหญ้าทะเลเป็นแหล่งอาหารและที่อยู่อาศัย ความต้องการที่จะดำาเนินการ
            คณะผู้จัดต้องการเก็บต้นหญ้าทะเลที่พัดขึ้นมาอยู่บนบริเวณชายฝั่งมาฟื้นฟูให้มีความสมบูรณ์
            แข็งแรง และนำากลับไปปลูกคืนสู่แหล่งหญ้าทะเลตามธรรมชาติ เพื่อเป็นอาหารและที่อยู่
            อาศัยของสัตว์ทะเล ซึ่งจะส่งผลดีต่อสภาพแวดล้อมทางทะเลในพื้นที่ต่อไป



                                                             KPI NEW GEN   59
                                                      สร ้ างสรรค์นวัตกรรมท ้ องถิ่นปี  2566
   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66