Page 62 - kpiebook66033
P. 62
วัตถุประสงค์โครงการ
1. เพื่อนำาต้นหญ้าทะเลที่ถูกลมมรสุมพัดขึ้นมาอยู่บริเวณชายฝั่งบริเวณหาดหยงหลำา
ตำาบลบางสัก อำาเภอกันตัง จังหวัดตรัง มาฟื้นฟูแหล่งเรียนรู้หญ้าทะเล และธนาคารปูม้า
โรงเรียนบ้านฉางหลาง ให้มีความสมบูรณ์แข็งแรง
2. เพื่อนำาต้นหญ้าทะเลที่ได้รับการฟื้นฟูจนมีความสมบูรณ์แข็งแรงไปปลูกคืนสู่
แหล่งหญ้าอ่าวขาม ตำาบลสิเกา อำาเภอสิเกา จังหวัดตรัง
ขั้นตอนการดำาเนินงาน
1. การจัดสนทนากลุ่ม (Focus group discussion)
ทีมเยาวชน ทีม Gen Z รักษ์หญ้าทะเล รักดุหยง ได้จัดกิจกรรมการสนทนากลุ่ม
ร่วมกับครู และบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนบ้านฉางหลาง เชิญตัวแทนจากองค์การ
บริหารส่วนท้องถิ่น เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม เพื่อวิเคราะห์ข้อมูล รวบรวม
ความคิดเห็น ศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการในการอนุรักษ์และฟื้นฟูแหล่งหญ้าทะเล และ
วางแผนการดำาเนินกิจกรรม ซึ่งจากข้อสรุปที่ได้จากกิจกรรมการสนทนากลุ่ม มีดังนี้
1.1 โครงการการอนุรักษ์และฟื้นฟูหญ้าทะเลคืนความอุดมสมบูรณ์สู่ทะเลตรัง
เป็นโครงการที่สามารถช่วยเพิ่มแหล่งอาหารและที่อยู่อาศัยให้กับพะยูนและสัตว์ทะเล ได้แก่
ปูม้า กุ้ง และหอยทะเล ซึ่งเป็นสัตว์เศรษฐกิจของชุมชน
1.2 ช่วงฤดูมรสุมของแต่ละปีจะมีต้นหญ้าทะเลจำานวนมากถูกพัดขึ้นมาอยู่บนชายฝั่ง
และตายจำานวนมาก บริเวณหาดหยงหลำา ตำาบลบางสัก อำาเภอกันตัง จังหวัดตรัง ดังนั้น
จึงเหมาะสำาหรับการกำาหนดเป็นพื้นที่สำาหรับเก็บตัวอย่างต้นหญ้าทะเลที่ได้รับความเสียหาย
จากลมมรสุม
1.3 แหล่งหญ้าทะเลปากเมง-อ่าวขาม เป็นบริเวณที่พะยูนอาศัยและเข้ามากินต้นหญ้าทะเล
อยู่เสมอ รวมถึงเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ทะเลเศรษฐกิจหลากหลายชนิด อีกทั้งพื้นที่
ดังกล่าวจำาเป็นต้องมีการฟื้นฟูต้นหญ้าทะเลทดแทนอย่างเร่งด่วนประมาณ 400 ไร่ จึงเป็นพื้นที่
ซึ่งเหมาะสำาหรับกำาหนดเป็นพื้นที่สำาหรับการนำาต้นหญ้าทะเลที่ได้รับการฟื้นฟูไปปลูก
2. การออกสำารวจและกำาหนดพื้นที่การอนุรักษ์ และฟื้นฟูแหล่งหญ้าทะเล
ทีมเยาวชน ทีม Gen Z รักษ์หญ้าทะเล รักดุหยง ได้จัดกิจกรรมการออกสำารวจและ
กำาหนดพื้นที่การอนุรักษ์ และฟื้นฟูแหล่งหญ้าทะเล ร่วมกับครู บุคลากรทางการศึกษา
โรงเรียนบ้านฉางหลางตัวแทนจากองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติ
หาดเจ้าไหม ซึ่งเดินทางจากบริเวณท่าเรือควนตุ้งกูด้วยเรือยนต์ไปยังบริเวณหาดหยงหลำา
60 KPI NEW GEN
สร ้ างสรรค์นวัตกรรมท ้ องถิ่นปี 2566