Page 15 - kpiebook66032
P. 15
2.1) ข้อมูลปฐมภูมิ
นักวิจัยเก็บข้อมูลปฐมภูมิด้วยวิธีการสัมภาษณ์ผู้บริหารท้องถิ่น และ
การสนทนากลุ่มร่วมกับปลัด ผู้อำนวยการและเจ้าหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
โดยนักวิจัยสัมภาษณ์ผู้บริหารท้องถิ่นหรือนายกฯ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วย
แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง (Semi-structured interview) เพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับวิสัยทัศน์
และนโยบายในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาท้องถิ่น ความพึงพอใจต่อผลการดำเนินงาน และ
แนวคิดต่อยอดในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาท้องถิ่น สำหรับการสนทนากลุ่มร่วมกับปลัด ท้องถิ่นในโลกยุควูก้า (VUCA WORLD)
ผู้อำนวยการและเจ้าหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นักวิจัยเก็บข้อมูลเกี่ยวกับ
รายละเอียดของการจัดบริการสาธารณะที่โดดเด่นหรือนวัตกรรมการจัดบริการสาธารณะที่เป็น
กรณีศึกษาในประเด็นต่าง ๆ กล่าวคือ ความเป็นมาหรือจุดเริ่มต้น วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
กิจกรรมการดำเนินงานและกระบวนการดำเนินงาน บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
บทบาทของภาคส่วนอื่น ๆ ที่เข้ามามีส่วนร่วม ทรัพยากรที่ใช้ในการดำเนินงาน ผลสำเร็จ
และผลกระทบที่เกิดขึ้น ปัญหาและอุปสรรครวมถึงแนวทางในการแก้ไขปัญหา และปัจจัยแห่ง
ความสำเร็จ
2.2) ข้อมูลทุติยภูมิ
นักวิจัยเก็บข้อมูลทุติยภูมิด้วยวิธีการศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้องและข้อมูล
บนเว็บไซต์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งข้อมูลทุติยภูมิ ประกอบด้วย
= ข้อมูลพื้นฐานทั่วไปขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อแสดงให้เห็นถึง
บริบทของพื้นที่ อาทิ ความเป็นมาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
อาณาเขต พื้นที่รับผิดชอบ จำนวนประชากร จำนวนครัวเรือน
ความหนาแน่นของประชากร ความหนาแน่นของครัวเรือน ลักษณะ ส่วนที่ 1 บทนำ
ภูมิประเทศ ลักษณะภูมิอากาศ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ลักษณะสังคมและวัฒนธรรม การประกอบอาชีพของประชากร
การศึกษา ศาสนา ประเพณีและวัฒนธรรม และการสาธารณสุข
เป็นต้น
= การบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อแสดงให้เห็นถึง
ภาพรวมบริบทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และแสดงถึง
ความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับการจัดบริการสาธารณะที่เป็นกรณีศึกษา
อาทิ โครงสร้างการบริหารงาน อัตรากำลังคน งบประมาณ วิสัยทัศน์/
สถาบันพระปกเกล้า