Page 11 - kpiebook66032
P. 11
ทั้งนี้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับรางวัลพระปกเกล้าทองคำถือเป็นองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นที่มีการบริหารงานและการจัดทำบริการสาธารณะที่เป็นเลิศ (Best Practices)
โดยสามารถตอบสนองต่อปัญหาและความต้องการของประชาชนในพื้นที่ และสามารถ
สร้างสรรค์นวัตกรรมที่ตอบโจทย์ความท้าทายในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
กลุ่มนี้จึงเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในประเทศไทย
ด้วยเหตุนี้ วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น จึงมุ่งดำเนินการต่อยอดจากการมอบ
รางวัลพระปกเกล้าทองคำ โดยทำการศึกษาวิจัยและถอดบทเรียนการบริหารงาน ท้องถิ่นในโลกยุควูก้า (VUCA WORLD)
การจัดบริการสาธารณะ และนวัตกรรมที่โดดเด่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับ
รางวัลพระปกเกล้าทองคำในปี 2565 เพื่อเป็นแรงบันดาลใจ เป็นการจุดประกายความคิด
และเป็นตัวอย่างให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วไปนำไปประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องเหมาะสมกับ
บริบทในพื้นที่ของตน นอกจากนี้ วิทยาลัยคาดหวังว่า การศึกษาวิจัยครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ทาง
อ้อมต่อชุมชนและประชาชนในฐานะผู้รับบริการสาธารณะจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
และที่สำคัญยังเป็นการสร้างองค์ความรู้เพื่อพัฒนาการปกครองท้องถิ่นของไทยให้เป็นรากฐาน
ที่เข้มแข็งสำหรับการปกครองในระดับประเทศต่อไป
2. วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาและถอดบทเรียนการบริหารงาน การจัดบริการสาธารณะ และนวัตกรรม
ที่โดดเด่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับรางวัลพระปกเกล้าทองคำ ประจำปี 2565
2. เพื่อเผยแพร่ตัวอย่างการบริหารงาน การจัดบริการสาธารณะ และนวัตกรรม
ที่โดดเด่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับรางวัลพระปกเกล้าทองคำ ประจำปี 2565
3. กรณีศึกษา ส่วนที่ 1 บทนำ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ได้ศึกษาและถอดบทเรียนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับ
รางวัลพระปกเกล้าทองคำ ปี 2565 รวม 9 กรณีศึกษา โดยแบ่งเป็นองค์การบริหารส่วนจังหวัด
จำนวน 1 แห่ง เทศบาลนคร จำนวน 1 แห่ง เทศบาลเมือง จำนวน 3 แห่ง เทศบาลตำบล
จำนวน 3 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 1 แห่ง และหากจำแนกตามรายภูมิภาค
พบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นกรณีศึกษาตั้งอยู่ในภาคใต้ จำนวน 1 แห่ง ภาคเหนือ
จำนวน 2 แห่ง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 1 แห่ง
สถาบันพระปกเกล้า