Page 10 - kpiebook66032
P. 10

ในการพัฒนาเมือง การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการจัดการภาวะวิกฤต การป้องกันและแก้ไข

           ปัญหาอุทกภัย การจัดระเบียบชุมชน การส่งเสริมการเกษตรชุมชน การสืบสานศิลปวัฒนธรรม
           และการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา เนื้อหาส่วนนี้จะช่วยสร้างแรงบันดาลใจ จุดประกาย
     ท้องถิ่นในโลกยุควูก้า (VUCA WORLD)   1.  ที่มาและความสำคัญ
           ความคิด เป็นตัวอย่างและบทเรียนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วไปได้นำไปประยุกต์ใช้ให้
           สอดคล้องเหมาะสมกับสภาพภูมิสังคมและบริบทพื้นที่ต่อไป







                 นับตั้งแต่ปี 2544 เป็นต้นมา วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า
           ได้จัดให้มีการมอบรางวัลพระปกเกล้าแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการบริหารงานที่เป็น
           เลิศเป็นประจำทุกปี รวมทั้งยังได้จัดให้มีการมอบรางวัลพระปกเกล้าทองคำเป็นประจำทุก 2 ปี

           สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เคยได้รับรางวัลพระปกเกล้ามาแล้วอย่างน้อย 2 ครั้ง
           ในระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญคือ 1) เพื่อส่งเสริมและกระตุ้นให้

           องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตระหนักถึงความสำคัญของหลักธรรมาภิบาลในการบริหารงาน
           โดยเฉพาะหลักความโปร่งใสและการมีส่วนร่วมของประชาชน 2) เพื่อส่งเสริมและผลักดันให้
           องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเสริมสร้างสันติสุขและความสมานฉันท์ในท้องถิ่นอันเป็นรากฐาน

           ของความสันติสุขสมานฉันท์ในระดับประเทศ และ 3) เพื่อเสริมสร้างให้องค์กรปกครอง
           ส่วนท้องถิ่นร่วมมือกับทุกภาคส่วนทั้งรัฐ เอกชน และประชาสังคม ในฐานะภาคีเครือข่ายเพื่อ

           การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน และ 4) เพื่อส่งเสริมและกระตุ้นให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
           ตระหนักถึงความสำคัญและมีบทบาทในการลดความเหลื่อมล้ำและส่งเสริมความเป็นธรรม
           ในท้องถิ่น
     ส่วนที่ 1 บทนำ    และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน 2) ด้านการเสริมสร้างสันติสุขและความสมานฉันท์
                 ในปี 2565 ได้มีการมอบรางวัลพระปกเกล้าทองคำใน 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านความโปร่งใส



           และ 3) ด้านการเสริมสร้างเครือข่าย รัฐ เอกชน และประชาสังคม โดยในปีนี้มีองค์กรปกครอง
           ส่วนท้องถิ่นที่ได้รับรางวัลพระปกเกล้าทองคำ รวมทั้งหมด 9 แห่ง แบ่งเป็น 1) องค์กรปกครอง
           ส่วนท้องถิ่นที่ได้รับรางวัลพระปกเกล้าทองคำด้านความโปร่งใสและส่งเสริมการมีส่วนร่วม

           ของประชาชน จำนวน 3 แห่ง 2) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับรางวัลพระปกเกล้าด้าน
           การเสริมสร้างสันติสุขและความสมานฉันท์ จำนวน 2 แห่ง และ 3) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

           ที่ได้รับรางวัลพระปกเกล้าด้านการเสริมสร้างเครือข่าย รัฐ เอกชน และประชาสังคม จำนวน
           4 แห่ง  2

               2   รายชื่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่รับรางวัลพระปกเกล้า ปี 2565 ดูได้ใน สถาบันพระปกเกล้า. (2565).
           รางวัลพระปกเกล้า 2565. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า, 351 หน้า.


               สถาบันพระปกเกล้า
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15